Header-sellsuki.webp
S E L L S U K I

เพิ่มยอดขายหน้าร้านฉบับมือใหม่ ขายของในลาซาด้า VS ช้อปปี้

mdi_eye : 228 ph_share-bold : 0 charm_sound-down
อ่าน
เพิ่มยอดขายหน้าร้านฉบับมือใหม่ ขายของในลาซาด้า VS ช้อปปี้

ขายของในลาซาด้า VS ช้อปปี้

ขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจ สินค้าจะขายได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ปัจจัยหนึ่งก็มีจากหน้าร้านที่คุณเลือก ไม่ว่าจะเป็นขายของใน Shopee หรือ Lazada ซึ่งหากรู้ตัวว่าเป็นมือใหม่ในวงการ e-Commerce ที่เรียกว่าทุกวันนี้เข้ามามีบทบาทสำคัญในเชิงของสื่อ ที่เป็นตัวสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการได้ โดยเฉพาะบรรดาเหล่าขาช้อปปิ้งออนไลน์ ต่างก็เข้าไปเปิดร้าน เพิ่มช่องทางการขายบนลาซาด้า และช้อปปี้เป็นจำนวนมาก

ดังนั้นถ้าคุณยังเป็นเด็กใหม่ที่ขาดความเข้าใจ หรือต้องการเรียนรู้สูตรเกี่ยวกับการเพิ่มยอดขายบนหน้าร้าน ไปดูกันว่าครั้งนี้น้องสุกิ รวบรวมเรื่องราวดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ ธุรกิจออนไลน์ ส่วนไหนบ้างไปตามดูกัน

สำหรับผู้ขายเอง จะมีข้อดีในส่วนของ "ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน" ก็สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ใน Shopee และ Lazada ได้ฟรี ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก คุณสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเป็นร้านค้าทั่วไป หรือร้านค้าทางการ แน่นอนความแตกต่าก็ขึ้นอยู่ตามประเภทที่คุณเลือก

ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการคัดกรองว่า สินค้าของคุณ ต้องการตีตลาดในกลุ่มลูกค้ารูปแบบใด นอกจากจะง่ายต่อการค้นหาแล้ว ผู้ซื้อเอง ก็จะสามารถเชื่อมั่นได้ว่า สินค้าที่สั่งซื้อ เชื่อถือได้ ไม่โดนโกง เป็นของแท้ 100% แบรนด์ของคุณจะเกิดคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้าได้นั่นเอง

เช็คลิสต์วิธีขายของในลาซาด้า Lazada

ไปดูกันว่า ถ้าจะลงขายของบนช่องทางของแอพลาซาด้า จะมีขั้นตอน หรือรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนใดบ้าง ที่เจ้าของแบรนด์ หรือแม่ค้าขายของออนไลน์ต้องรู้บ้าง

Lazada ร้านค้าทั่วไป

  1. หมายเลขโทรศัพท์
  2. เลือกประเภทบัญชี
  • บุคคล
  • นิติบุคคล
  1. อีเมล
  2. รหัสผ่าน

Lazada ร้านค้าทางการ (LazMall)

  1. ลงชื่อ/สมัคร
  • ชื่อแบรนด์สินค้า
  • หมายเลขโทรศัพท์
  1. เอกสารที่ต้องเตรียม
  • ใบจดทะเบียนบริษัท
  • ภ.พ.20 ภ.พ. 01 หรือ ภ.พ.09
  • สมุดบัญชีธนาคาร
  • ใบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (เจ้าของแบรนด์) หรือหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของแบรนด์ (ตัวแทนจำหน่าย)

ขายของในลาซาด้า VS ช้อปปี้

เปิดร้านใน shopee แม่ค้ามือใหม่ต้องรู้

เอาใจสาวกแอพส้มกันบ้าง หากคุณต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจขายของออนไลน์ บนช้อปปี้ จะมีรายละเอียด หรือขั้นตอนไหนบ้าง ที่คุณจะต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือขายจริง

ร้านค้า Shopee ทั่วไป

  1. กรอกข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อ
  • ชื่อ-นามสกุล
  • เบอร์โทรศัพท์ (พิมพ์ 66 แทน 0)
  • อีเมล
  1. ข้อมูลร้านค้า
  • ชื่อร้านค้า
  • เบอร์โทรร้านค้า (เชื่อมทั้งบัญชีผู้ขายและผู้ซื้อ)
  • มีพนักงานประจำหรือไม่
  • จำนวนพนักงาน (รวมเจ้าของร้าน)
  • ที่อยู่ร้านค้า
  • มีสต็อกสินค้าพร้อมจำหน่ายไหม
  • ขายสินค้าอะไร
  • ร้านค้ามีสินค้ากี่ชนิด
  • มีร้านค้าบน Facebook หรือไม่
  • มีร้านค้าบน Instagram หรือไม่
  • มีร้านค้าบน Lazada หรือไม่

ร้านค้า Shopee ทางการ (Shopee Mall)

  1. ข้อมูลผู้ติดต่อ
  • ชื่อ-นามสกุล
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล / ตำแหน่ง
  1. ข้อมูลนิติบุคคลและแบรนด์สินค้า
  • ชื่อบริษัท
  • เลขทะเบียนนิติบุคคล
  • ชื่อแบรนด์สินค้าหลักที่ต้องการเปิดร้านใน Shopee Mall
  • หมวดหมู่สินค้าหลักของร้านค้า
  • เว็บไซต์ของแบรนด์สินค้าหลัก
  • Facebook Page ของแบรนด์สินค้าหลักหรือร้านค้าของคุณ
  • Instagram ของแบรนด์สินค้าหลักหรือร้านค้าของคุณ
  • Social Media อื่นๆ ของแบรนด์สินค้าหลักหรือร้านค้าของคุณ
  • ร้านค้าของคุณใน eCommerce อื่นๆ Lazada, JD Central
  • นิติบุคคลของคุณเกี่ยวข้องอย่างไรกับแบรนด์สินค้าหลักที่ต้องการเปิดร้านใน Shopee Mall
  • คุณต้องการจัดจำหน่ายสินค้ามากกว่า 1 แบรนด์ผ่านร้านค้า Shopee Mall หรือไม่

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับช่องทางเพิ่มยอดขายบนแอพขายของออนไลน์ ที่ไม่ว่าจะเป็น Shopee และ Lazada ต่างก็ขั้นตอน รายละเอียดกฏเกณฑ์สำหรับการลงทะเบียนใช้งาน ดังนั้นหากคุณรู้ตัวว่าเป็นมือใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการขายของออนไลน์

หรือกำลังมองหาผู้ช่วยด้านธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยดูแล วางแผนเกี่ยวกับการการทำธุรกิจ น้องเซลสุกิ คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะให้บริการครบจบในที่เดียว เพียง คลิกที่นี่

และอย่าลืมติดตามเรื่องราวข่าวสารดี ๆ แบบนี้ เพียงกดติดตาม Facebook และ Youtube คุณจะไม่พลาดทุกกระแสที่อยู่ในวงการ e-Commerce อย่างแน่นอน

แท็ก LazadaShopeeMarketplacee-CommerceSales

แชร์

บทความนี้มีประโยชน์กดชอบเป็นกำลังใจให้เราได้
Like this article