Header-sellsuki.webp
S E L L S U K I
mdi_eye : 59 ph_share-bold : 0 charm_sound-down
อ่าน

ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel: POS และ OMS คือคำตอบของธุรกิจยุคใหม่

ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel 1.jpg

ในยุคที่ลูกค้าสามารถช้อปปิ้งได้ทั้งหน้าร้านและออนไลน์ผ่านหลายช่องทาง การมีระบบจัดการร้านค้าที่ดีและสามารถจัดการได้แบบไร้รอยต่อ หรือที่เราเรียกว่า ระบบจัดการร้านแบบ Omnichannel จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกช่องทางได้แบบไร้รอยต่อ โดยระบบหลักที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจยุคใหม่ก็คือ ระบบ POS และ ระบบ OMS ซึ่งช่วยจัดการตั้งแต่การขาย การจัดการสต๊อกสินค้า ไปจนถึงการจัดการออเดอร์จากทุกช่องทาง

Omnichannel คืออะไร? ทำไมธุรกิจถึงต้องสนใจ?

Omnichannel คือการทำธุรกิจที่ผสานทุกช่องทางเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน เว็บไซต์ออนไลน์ หรือแม้แต่แพลตฟอร์ม Marketplace อย่าง Shopee, Lazada โดยลูกค้าสามารถช้อปปิ้งผ่านช่องทางใดก็ได้ และได้รับประสบการณ์การซื้อที่ต่อเนื่อง เช่น สั่งซื้อออนไลน์แล้วมารับสินค้าในร้าน หรือซื้อในร้านแต่สามารถคืนสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถรองรับการขายแบบ Omnichannel ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีระบบจัดการร้านค้าที่ครบวงจรจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยระบบหลักที่ต้องมีคือ ระบบ POS และ ระบบ OMS

ระบบ POS: หัวใจสำคัญของการขายและจัดการสต๊อกสินค้า

ระบบ POS (Point of Sale) คือระบบที่ใช้จัดการการขายหน้าร้าน โดยหน้าที่สำคัญของระบบนี้คือ

  1. คิดเงินและจัดการการขายได้รวดเร็ว: ลดข้อผิดพลาดในการคิดเงิน และเพิ่มความเร็วในการให้บริการลูกค้า
  2. จัดการสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์: รู้จำนวนสต๊อกสินค้าตลอดเวลา ช่วยป้องกันการขาดสต๊อกหรือสต๊อกเกิน
  3. วิเคราะห์ข้อมูลการขาย: รายงานยอดขาย สินค้าขายดี และพฤติกรรมลูกค้า เพื่อนำไปวางแผนธุรกิจ
  4. จัดการโปรโมชันและส่วนลด: สามารถตั้งค่าส่วนลดหรือโปรโมชันได้ง่ายๆ ผ่านระบบ

ระบบ OMS: จัดการออเดอร์จากทุกช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนสำคัญของการขายแบบ Omnichannel

ระบบ OMS (Order Management System) คือระบบที่ช่วยจัดการออเดอร์จากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าจริง ออนไลน์ หรือ Marketplace โดยระบบนี้จะช่วยให้คุณ

  1. รวมออเดอร์จากทุกช่องทางไว้ในที่เดียว: ไม่ต้องกังวลว่าออเดอร์จะหลุดหรือสับสน
  2. ติดตามสถานะออเดอร์แบบเรียลไทม์: รู้ว่าออเดอร์อยู่ขั้นตอนไหน กำลังจัดส่งหรือยัง
  3. จัดการสต๊อกสินค้าร่วมกับ POS: เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ระบบจะอัปเดตสต๊อกสินค้าโดยอัตโนมัติ
  4. จัดการการจัดส่งและคลังสินค้า: ช่วยให้การจัดส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel: เมื่อ POS และ OMS ทำงานร่วมกัน

การมีทั้ง ระบบ POS และ ระบบ OMS ที่ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุค Omnichannel ที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านหลายช่องทาง โดยตัวอย่างการทำงานร่วมกันแบบ Omnichannel อย่างเช่น เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระบบ OMS จะรับออเดอร์และอัปเดตสต๊อกสินค้าในระบบ POS โดยอัตโนมัติ หรือ หากลูกค้ามารับสินค้าในร้าน พนักงานสามารถใช้ระบบ POS เพื่อตรวจสอบและจัดการออเดอร์ได้ทันที ทำให้การขายหน้าร้านค้าผ่าน POS จะอัปเดตข้อมูลสต๊อกและออเดอร์ใน OMS ทันที ทำให้ข้อมูลทุกช่องทางเชื่อมโยงกัน จะเห็นได้ว่าถ้ามีระบบที่สามารถจัดการได้ทั้งสองช่องทางทำให้เราสามารถขายของได้อย่างหมดห่วง อีกทั้งยังสะดวกกับลูกค้าอีกด้วย

ประโยชน์ของระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel

จากที่ได้รู้จักการจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel ไปแล้ว หลายคนอาจจะยังลังเลว่ามันมีดียังไง สามารถทำให้ธุรกิจดำเนินการได้แบบลื่นไหลได้ขนาดนั้นเลยหรือไม่ เราได้รวบรวมข้อดีของการจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel มาให้ดูกัน

  1. ลดความซับซ้อน: จัดการทุกอย่างในระบบเดียว ไม่ต้องใช้หลายระบบแยกกัน
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: ลดเวลาและข้อผิดพลาดในการจัดการสต๊อกสินค้าและออเดอร์
  3. ข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน: POS และ OMS แชร์ข้อมูลเดียวกัน เพิ่มโอกาสในการขายและทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจแม่นยำขึ้น
  4. ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น: ลูกค้าสามารถช้อปปิ้งผ่านช่องทางใดก็ได้ และได้รับประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง

ใครบ้างที่ควรใช้ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel?

ระบบ Omnichannel เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายช่องทางการขายให้ครอบคลุมทั้งหน้าร้านและออนไลน์ รวมถึงการบริหารจัดการสต๊อกและออเดอร์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยธุรกิจที่สามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบนี้ ได้แก่

1.ร้านค้าปลีก (Retail Stores)

ร้านค้าปลีกที่มีทั้งหน้าร้านและช่องทางออนไลน์ เช่น แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel เพื่อเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น 

  • ลูกค้าซื้อสินค้าทางออนไลน์และเลือกรับสินค้าที่หน้าร้าน (Click & Collect)
  • ร้านสามารถเช็กสต๊อกแบบเรียลไทม์ เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าพร้อมจำหน่าย
  • เมื่อลูกค้าคืนสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระบบจะอัปเดตสต๊อกทันที

2.ร้านอาหารและคาเฟ่

ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ที่ต้องการบริหารจัดการออเดอร์จากหลายช่องทาง เช่น การสั่งซื้อผ่านแอปเดลิเวอรี เว็บไซต์ หรือหน้าร้านเอง 

  • ใช้ระบบ POS เพื่อรับออเดอร์และอัปเดตสต๊อกวัตถุดิบแบบอัตโนมัติ 
  • เชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี เช่น GrabFood, LINE MAN, foodpanda
  • บริหารโปรโมชั่นและส่วนลดให้สอดคล้องกันทุกช่องทาง 

3.ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ธุรกิจที่ขายสินค้าผ่าน Marketplace อย่าง Shopee, Lazada หรือผ่านโซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, TikTok) ควรใช้ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel เพื่อบริหารจัดการออเดอร์อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • รวมออเดอร์จากทุกแพลตฟอร์มไว้ในที่เดียว ไม่ต้องจัดการหลายระบบ 
  • อัปเดตสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ ป้องกันปัญหาสินค้าหมดหรือออเดอร์ซ้ำซ้อน
  • ติดตามสถานะคำสั่งซื้อและการจัดส่งได้แบบเรียลไทม์

4.ธุรกิจบริการ

ธุรกิจบริการสามารถใช้ระบบจัดการร้านค้าแบบ Omnichannel เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าและปรับปรุงการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น

  • การจองคิวและการให้บริการที่ต่อเนื่อง ผ่านหลายช่องทาง
  • การจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถให้บริการที่ตรงใจลูกค้า
  • การสื่อสารและแจ้งเตือนอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสะดวกและความพึงพอใจ
  • การสร้าง Loyalty Program กระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ

ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  

Website : https://patona.online/ 

Facebook : Patona

แท็ก Omni Channel

แชร์

บทความนี้มีประโยชน์กดชอบเป็นกำลังใจให้เราได้
Like this article