Header-sellsuki.webp
S E L L S U K I

รวมเทคนิคทำ Mobile Website ให้ถูกใจชาวนักช้อปปิ้ง

mdi_eye : 102 ph_share-bold : 0 charm_sound-down
อ่าน
รวมเทคนิคทำ Mobile Website ให้ถูกใจชาวนักช้อปปิ้ง

mobile_web_developer

ทำไมเราจึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างเว็บไซต์ Mobile Version

ตามที่เราเห็นกันทั่วไปว่าสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การซื้อสินค้าก็หันมาซื้อผ่านร้านออนไลน์บนสมาร์ทโฟนมากขึ้นเช่นกันด้วยเหตุผลหลักคือความสะดวก เมื่อหัวใจของการช็อปปิ้งออนไลน์คือความสะดวกดังนั้นแพลตฟอร์มที่วางขายสินค้าก็ควรสร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่สอดคล้องกัน เมื่อผู้ใช้ใช้งานเว็บไซต์ผ่านสมาร์ทโฟนได้อย่างลื่นไหล (Mobile Responsive) พวกเขาก็ยิ่งใช้เวลาบนเว็บนานขึ้น ยิ่งเห็นสินค้าและข้อมูลต่างๆ มากเท่าไรก็ยิ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้ามากขึ้นตาม เราจะออกแบบเว็บไซต์สำหรับใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือให้ใช้งานได้ลื่นไหลอย่างไรบ้าง

mobile_web_developer

Mobile Website เน้นความกระชับและเรียบง่าย

จากผลการสำรวจของ Statista พบว่านักช็อปออนไลน์ที่เลือกสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนมักใช้เวลาค้นหาสินค้าเฉลี่ยที่ 4 นาที (ในส่วนของผู้ที่ค้นหาผ่านคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตอาจใช้เวลามากกว่าเล็กน้อยคืออยู่ที่ประมาณ 5 นาที) เมื่อเป็นเช่นนี้คุณจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเห็นข้อมูลสินค้าได้มากที่สุด เข้าใจว่าคุณขายอะไรบ้างในเวลาไม่กี่นาทีด้วยการดูผ่านจอโทรศัพท์ที่มีขนาดเล็ก ดังนั้นการเน้นความเรียบง่ายที่ช่วยให้ดูข้อมูลได้ง่ายจึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจ

จากภาพตัวอย่างที่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงบนหน้าเว็บเน้นความเรียบง่ายใช้สีพื้นหลังที่ไม่รบกวนสายตาเพื่อให้เห็นภาพสินค้าชัดเจน แม้จะให้ข้อมูลด้วยคำสั้นๆ แต่ก็เข้าใจได้ว่าต้องการสื่ออะไร ประกอบกับการมีฟีเจอร์ช่วยกรองประเภทสินค้า (Filter) ที่ช่วยให้หาสินค้าที่สนใจได้เร็วขึ้น

ให้ข้อมูลมากไปอาจระวังลูกค้าไม่ซื้ออะไรเลย

ก่อนเริ่มเขียนเว็บไซต์คุณต้องออกแบบ Customer Journey ให้ชัดเจนว่าเมื่อลูกค้าเข้ามาคุณต้องการให้เขาเห็นอะไรก่อนเลื่อนไปเจออะไรในลำดับถัดไป อย่างที่บอกไปแล้วว่าลูกค้ามีเวลาจำกัดให้กับแพลตฟอร์มของคุณ ดังนั้นการที่จะใส่คอนเทนต์หรือฟีเจอร์อะไรเข้าไปก็แล้วแต่ คุณต้องมั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่รบกวนสมาธิของผู้ใช้มากไปจนพวกเขาเกิดความเบื่อหน่ายและปิดหน้าเว็บไซต์ไป ที่เรามักเห็นบ่อยๆ นั่นก็คือการนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้อง หรือ ใช้ร่วมกับสินค้าที่ลูกค้ากำลังดูอยู่ได้ (Additional Products) การที่ผู้ใช้เห็นสินค้าแนะนำเยอะเกินไป แทนที่เขาจะซื้อของที่สนใจเป็นชิ้นแรกกลับกลายเป็นว่าข้ามไปดูสินค้าอื่นๆ แทน จนสุดท้ายลืมว่าเคยสนใจอะไรและออกจากเว็บไซต์โดยไม่ซื้ออะไรเลย ดังนั้นการ Up-sale ด้วย Additional Products ควรทำหลังจากลูกค้าซื้อสินค้าชิ้นแรกที่พวกเขาสนใจแล้ว

ออกแบบเว็บไซต์ให้สัมพันธ์กับลักษณะการใช้สมาร์ทโฟน

โดยปกติแล้วผู้ใช้มักถือสมาร์ทโฟนด้วยมือเดียวและใช้นิ้วโป้งสไลด์ดูแต่ละส่วนเป็นหลัก เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์อย่างไร? ต้องบอกว่าเกี่ยวโดยตรงเลยครับ ลองนึกภาพลูกค้ากำลังเลือกดูสินค้าแล้วเขาต้องการจะกดสั่งซื้อแต่ปุ่ม Add to Cart ดันอยู่ในตำแหน่งที่นิ้วโป้งเอื้อมไปกดได้ยากแล้วอีกมือหนึ่งของลูกค้าไม่ว่างที่จะมากดสั่งซื้อด้วยสิ เมื่อมันใช้งานลำบากเขาก็อาจจะปิดหน้าเว็บไปก่อนแล้วมาสั่งซื้อทีหลัง ซึ่งก็เป็นไปได้สูงว่าเขาอาจจะไม่กลับมาอีกเลยเนื่องจากลืม หรือ รู้สึกว่าได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดีจนไม่อยากกลับมาอีก ในระหว่างออกแบบเว็บไซต์คุณอาจทดลองใช้งานโทรศัพท์มือถือด้วยมือเดียวไปด้วย เผื่อจะได้มีไอเดียว่าควรวางปุ่ม Call to Action หรือฟีเจอร์ต่าง ๆ ตรงจุดไหน ควรมีขนาดใหญ่แค่ไหนที่ผู้ใช้จะกดดูได้สะดวกเมื่อถือสมาร์ทโฟนด้วยมือเดียว รวมทั้งตัวอักษรควรมีขนาดพอเหมาะ อ่านง่ายไม่เล็กเกินไปจนต้องซูมเข้าไปดู บางคนอ่านถึงตรงนี้อาจจะยังนึกไม่ออก เรามีภาพตัวอย่างมาให้ดูครับ (สีเขียวคือส่วนที่เหมาะจะวางปุ่ม Call to Action ต่างๆ เพราะเป็นบริเวณที่นิ้วโป้งเอื้อมไปคลิกได้ง่าย)

mobile_web_developer

ใช้ภาพประกอบที่มีคุณภาพสูง

เมื่อคุณขายของบนร้านอีคอมเมิร์ซแน่นอนว่าลูกค้าไม่สามารถทดลองและเห็นสินค้าจริง ดังนั้นรูปภาพคือสิ่งที่จะพูดแทนคุณด้วยการเติมเต็มคำอธิบายสินค้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การใช้ภาพสินค้าที่ดูดีย่อมทำให้ลูกค้ามีความคิดเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพที่ดีด้วย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ รวมทั้งช่วยรักษาฐานลูกค้าหรือแฟนที่ติดตามร้านของคุณให้อยากกลับเข้ามาชมสินค้าอีก จากคนติดตามก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าได้ในเวลาต่อมา

มีฟังก์ชัน Smart Search ช่วยให้การค้นหาง่ายขึ้น

ความยุ่งยากอีกอย่างของการช็อปปิ้งผ่านเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือ ก็คือเมื่อคุณต้องการค้นหาสินค้าคุณต้องพิมพ์คำค้นลงบนช่องแคบๆ ซึ่งจะยิ่งน่ารำคาญเข้าไปอีกถ้าแป้นพิมพ์มีขนาดเล็ก พิมพ์ผิดกันไปหลายรอบกว่าจะเจอสินค้า แต่หากคุณเพิ่มฟังก์ชัน Smart Search ที่แนะนำคำค้นที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับคำค้นหาของผู้ใช้ก็จะช่วยให้พวกเขาหาสินค้าได้ง่ายขึ้น เพราะนอกจากปัญหาการพิมพ์ผิด ๆ ถูก ๆ แล้ว บางครั้งผู้ใช้อาจไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรในการค้นหาสินค้า การมี Smart Search จึงช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงสินค้า ซึ่งนำมาสู่ยอดขายได้

mobile_web_developer

ออกแบบเมนูเว็บไซต์อย่าลืมกฏ Three-Tap

กฎ Three-Tap คืออะไร ต้องบอกว่าสิ่งนี้สัมพันธ์กับไอเดียการทำเว็บไซต์ให้เรียบง่าย ไม่เพียงแค่การจัดวางคอนเทนต์การเลือกใช้สี แต่รวมถึงการออกแบบเมนูเพื่อพาไปสู่ส่วนต่างๆ ของเว็บ ที่ไม่ควรมีเมนูย่อยเยอะเกินไปต้องจิ้มกันหลายครั้งกว่าจะเจอสินค้าที่ลูกค้ามองหา ถ้าว่าด้วยกฎ Three-Tap นั่นก็คือลูกค้าควรจิ้มที่แท็บเมนูไม่เกินสามครั้งเพื่อเข้าถึงสินค้าชนิดหนึ่ง ๆ ดังนั้น Journey ของลูกค้าที่คลิกเข้าไปดูเมนูในร้านค้าอีคอมเมิร์ซควรมีลักษณะดังนี้

  1. ผู้ใช้เข้าสู่หน้าแรกและเลือกประเภทของผลิตภัณฑ์ (Category)
  2. ผู้ใช้เลือกหมวดย่อยเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์แบบเจาะจง (Sub-Category)
  3. ผู้ใช้ถูกพาไปยังหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณ (Product Page)

จัดการข้อมูลบนตะกร้าสินค้าให้ครบถ้วน

อีกส่วนที่ไม่ควรมองข้ามคือหน้าตะกร้าสินค้า ควรทำสัญลักษณ์แสดงจำนวนสินค้าที่ถูกเพิ่มบนไอคอนรูปตะกร้าสินค้าที่วางในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน (ส่วนบนจะสังเกตเห็นได้ง่าย) นอกจากนี้ควรมีข้อมูลสรุปรายการสั่งซื้อ ทั้งชื่อสินค้า รูปภาพ จำนวนและราคาสั่งซื้อรวม ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ควรแสดงอยู่ส่วนบนของปุ่ม Check-Out เพื่อให้ลูกค้าไม่เกิดความสับสนว่าสั่งอะไรไปบ้าง หากคุณมีฟังก์ชันสำหรับใช้คูปองหรือรหัสส่วนลด คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าใช้งานฟังก์ชันส่วนนี้ได้ง่าย รวมทั้งแสดงยอดเงินที่ต้องชำระและตัวเลือกการจัดส่งให้ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าเลือกได้ง่าย

สรุปได้ว่าเว็บไซต์ดี ยอดขายก็ดีตามครับ เพราะถ้าผู้ใช้ใช้งานได้สะดวกเขาก็อยากที่จะใช้เวลาบนเว็บของเรามากขึ้น เมื่อเจอสินค้าที่ถูกใจแถมการสั่งซื้อยังทำได้ง่ายก็ย่อมอยากจะกลับมาซื้ออีกครั้ง ดังนั้นคุณควรคิดในมุมผู้ใช้และทำความเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานให้มากที่สุด เพื่อที่คุณจะสามารถทำเว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์ช็อปปิ้งที่ดีที่สุด และต้องไม่ลืมวัดประสิทธิภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะการทำเว็บไซต์ไม่ใช่งานที่ทำครั้งเดียวจบ แต่ต้องการการพัฒนาและอัปเดตอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้ใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย เรียกได้ว่าเป็นงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจทั้งศาสตร์การตลาดและศาสตร์การออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถประยุกต์เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม อย่างที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ช่วงนี้ก็จะมีเรื่องของการเชื่อม API ที่ทำให้องค์กรหนึ่งสามารถประยุกต์เทคโนโลยีจากอีกองกรณ์เพื่อเสริมความแกร่งให้ธุรกิจได้อย่างลงตัว

อยากมีเว็บไซต์ที่ช่วยให้คุณขายของได้ ปรึกษาทีมงาน WizeMoves
Facebook: WizeMoves Digital Agency by Sellsuki
โทร: 02 026 3250

แท็ก Websitee-Commerce

แชร์

บทความนี้มีประโยชน์กดชอบเป็นกำลังใจให้เราได้
Like this article