Header-sellsuki.webp
S E L L S U K I

ภาษี e-Payment คืออะไร?! ก่อนขายของออนไลน์ ต้องรู้อะไรบ้าง

mdi_eye : 109 ph_share-bold : 0 charm_sound-down
อ่าน
ภาษี e-Payment คืออะไร?! ก่อนขายของออนไลน์ ต้องรู้อะไรบ้าง

ภาษี e-Payment

รู้หรือไม่ครับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ มีภาษีที่ต้องเสียเพิ่มเติม ที่เรียกว่า ภาษี e-Payment เคยได้ยินหรือรู้กันไหมครับ ยิ่งร้านไหนขายเยอะ ออเดอร์เยอะ ยิ่งมีโอกาสต้องเสียภาษี หากยังสงสัย มาหาคำตอบไปพร้อมกับ Sellsuki กันเลย

ภาษี e-Paymentคืออะไร

กฎหมายภาษี e-Payment มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 เรียกได้ว่าเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างใหม่เลยล่ะครับ โดยกฎหมายนี้จะกระทบกับผู้ค้าออนไลน์ที่มีการรับเงินโอนวันละจำนวนมาก ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงถึงสถานบันการเงินที่ดูแลบัญชีเหล่านั้นอีกอีกด้วยที่จะต้องรายงานผลให้กรมสรรพากรทราบในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
  2. ฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมของธุรกรรมฝาก หรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป
    รวมถึงจะมีการนับยอดรวมการโอนของทุกบัญชีที่มีอยู่ในธนาคารเดียวกันรวมกันด้วย เช่น หากมีการเปิดบัญชี กับธนาคารหนึ่ง 5-10 บัญชี ก็จะนับยอดรับโอนทั้ง 5-10 บัญชี มานับรวม หากมีข้อมูลเกินกว่าที่กำหนด ที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็จะต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่จะไม่นับข้อมูลบัญชีที่ต่างธนาคาร
ภาษี e-Payment

ภาษี e-Payment มีไว้เพื่ออะไร

วัตุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายภาษี e-Payment หลังจากมีการเข้ามาของการค้าขายบนสื่ออนไลน์มากขึ้นทำให้กรมสรรพากรไม่สามารถติดตามการเดินเงินของผู้ถือบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น กฎหมายตัวนี้จึงมีขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการติดตามบัญชี ซึ่งสำหรับพ่อค้าค้าแม่ค้าคนไหนที่มีการยื่นเรื่องภาษีปกติอยู่แล้วก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนักครับ

ค่าปรับที่ควรรู้

สำหรับธนาคาร สถาบันการเงิน และอีวอลเลต ที่ไม่ปฏิบัติหน้าในการส่งข้อมูลไปยังสรรพากรที่มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทจนกว่าจะทำการส่งข้อมูล นอกจากนี้กรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยหากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ภาษี e-Payment


เอกสารที่ต้องส่งให้สรรพากร

ซึ่งย้ำอีกครั้งครับว่าพ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องส่งเอกสารเอง ผู้ที่มีหน้าที่ส่งเอกสารเหล่านี้ให้แก่ทางสรรพากรคือ สถานบันการเงินต่าง ๆ ที่ดูแลบัญชีของเราอยู แต่เพราะว่าเป็นข้อมูลของเราดังนั้นควรรู้ไว้นะครับว่าเอกสารอะไรบ้างที่เค้าจะต้องนำไปใช้เพื่อส่งให้สรรพากรนะครับ

  • เลขบัตรประชาชน
  • ชื่อ นามสกุล
  • จำนวนครั้งที่ฝาก-รับโอน ต่อปี
  • ยอดรวมเงินฝาก-รับโอน ต่อปี

ซึ่งเมื่อเอกสารถูกนำส่งไปยังสรรพากรแล้ว จากนั้นจึงจะมีการเรียกตัวพ่อค้าแม่ค้าที่มีเกณฑ์เข้าข่ายจะต้องเสียภาษีเพิ่ม โดยในขั้นตอนนี้ทางเราเอกก็จะต้องนำส่งเอกสารจำพวกบัญชีรายรับรายจ่ายให้เขาตรวจสอบอีกทีครับ

นั้นละครับคือกฎหมายเกี่ยวภาษี e-Payment ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรรู้ไว้ และอย่าลืมตรวจสอบเช็คบัญชีตัวเองให้ดีด้วยนะครับ ถ้าร้านใหญ่ๆ ก็สามารถเปิดหลายๆ บัญชีของหลาย ๆ ธนาคารได้ เพราะแต่ละบัญชีจะไม่ถูกนำมาคิดรวมกันอย่างที่บอกไปข้างต้นนะครับ ถ้าหากว่าชอบบทความเกร็ดความรู้อะไรแบบนี้ อย่าลืมติดตาม Facebook และ YouTube ของน้องเซลสุกิ กันด้วยนะครับ

แท็ก e-CommerceOthers

แชร์

บทความนี้มีประโยชน์กดชอบเป็นกำลังใจให้เราได้
Like this article