Header-sellsuki.webp
S E L L S U K I
mdi_eye : 535 ph_share-bold : 0 charm_sound-down
อ่าน

ล้วงลึก Insight ธุรกิจ การออกกำลังกาย ปี 2025 By Social Listening

ธุรกิจการออกกำลังกาย.jpg

ปัจจุบัน การออกกำลังกาย ไม่ใช่แค่กิจกรรมเพื่อสุขภาพ แต่กลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่การอมักอกกำลังกายเพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจ อุตสาหกรรมฟิตเนสเองก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยระบุว่า ตลาดฟิตเนสในประเทศไทยมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท และเติบโตเฉลี่ย 8-10% ต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน กระแสการออกกำลังกายที่บ้าน ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยอิทธิพลของ Influencer และ KOL ที่ผลิตคอนเทนต์สอนออกกำลังกายมากมาย แต่อ่านมาถึงตรงนี้ก็ยังนึกภาพไม่ออกกันใช่ไหมล่ะ เพราะฉะนั้น วันนี้ SELLSUKI จะพาทุกคนไปเจาะลึก Insight ของการออกกำลังกาย ผ่าน Social Listening Tools เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและพฤติกรรมของผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดีย แล้วมาดูกันว่าเทรนด์นี้จะพาธุรกิจด้านสุขภาพและฟิตเนสไปในทิศทางไหนกันแน่!

5 ขั้นตอนการทำ Data Blueprint ด้วยเครื่องมือ Social Listening

Screenshot 2568-01-31 at 15.54.31.png

Step 1 - Crack โจทย์ไหนที่อยากรู้

ในขั้นตอนแรกสุดของเรานั้น เราจะต้องมีตีโจทย์ให้แตกว่าเราอยากรู้หรือศึกษาเรื่องอะไรที่คนพูดถึงกันในโซเชียลมีเดีย ในบทความนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นคำว่า “การออกกำลังกาย” นั่นเอง เราจะเอาคำเหล่านี้มาดูว่าเทรนด์เป็นยังไง 

Step 2 - Set Keyword & Data Gathering

3.jpg

ขั้นตอนต่อมาคือ กำหนด Keyword ให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เราต้องการศึกษา เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Gathering) ซึ่งหัวข้อนี้เราใช้คำว่า “การออกกำลังกาย” นั่นเอง

ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกโดยใช้เครื่องมือ Social Listening ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามและวิเคราะห์การสนทนาบนโลกออนไลน์ พบว่า การออกกำลังกาย เป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจและมีการพูดถึงอย่างแพร่หลายในสังคมออนไลน์ โดยมีจำนวนการกล่าวถึงทั้งหมด 25,726 ครั้ง ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Facebook, X (Twitter), Instagram, YouTube, TikTok และ Forum ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2024 ถึง 20 มีนาคม 2025

เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีการพูดถึง การออกกำลังกาย มากที่สุด คิดเป็น 39.33% ของจำนวนการกล่าวถึงทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Facebook เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการสนทนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับ การออกกำลังกาย รองลงมาคือ X (Twitter) และ Instagram ซึ่งก็มีการพูดถึง การออกกำลังกาย ในจำนวนที่น่าสนใจเช่นกัน

ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ การออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบัน และยังแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสำคัญในการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับ การออกกำลังกาย ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภค

Step 3 - Data Analyst & Visualize

ในขั้นตอนที่สาม เราจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากแพลตฟอร์มต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ (Data Analysis) แต่อย่าลืมตรวจสอบ และคัดกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Keyword ออกก่อน เพื่อให้การวิเคราะห์ของเรานั้นมีความแม่นยำและชัดเจนมากที่สุด

4.jpg

แต่ก่อนที่เราจะเข้าประเด็นกัน เราควรทราบก่อนว่า “การออกกำลังกาย” คืออะไร 

การออกกำลังกาย คือ กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยช่วยเผาผลาญพลังงาน สร้างกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด และกระดูก นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ยังช่วยลดความเครียด กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีทั้งรูปแบบคาร์ดิโอ เวทเทรนนิ่ง และโยคะ การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง

หลังจากที่ทุกคนทราบความหมายของการออกกำลังกายกันแล้ว ดังนั้น ไปกันต่อ!!
จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือ Social Listening พบว่า การออกกำลังกาย เป็นหัวข้อที่มีการสนทนาอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา โดยมีจำนวนการกล่าวถึงทั้งหมด 25,726 ครั้ง ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุอย่างละเอียดของแต่ละแพลตฟอร์ม จะเป็นดังนี้: 

 มีการกล่าวถึงบน Facebook มากที่สุด ถึง 10,118 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานหลากหลายกลุ่มอายุและมีความหลากหลายของคอนเทนต์ ทำให้เป็นพื้นที่ที่คนสามารถพูดคุยและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์โพสต์เกี่ยวกับกิจวัตรการออกกำลังกายในฟีดส่วนตัวของแต่ละคน รวมถึงการเข้าร่วมกลุ่มชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย การแบ่งปันบทความหรือวิดีโอเกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือการพูดคุยกับเพื่อนเกี่ยวกับเป้าหมายการออกกำลังกาย นอกจากนี้ Facebook ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์และการสนทนา ทำให้คนสามารถแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายได้อย่างหลากหลาย

X (หรือ Twitter เดิม) มีการกล่าวถึงเป็นอันดับที่ 2 อยู่ที่ 4,886 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: X (Twitter) เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการสื่อสารแบบเรียลไทม์และการแสดงความคิดเห็นแบบสั้นๆ ไม่ยาวมากนัก ทำให้คนมักใช้ X (Twitter) เพื่อติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย แบ่งปันเคล็ดลับหรือแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเทรนด์การออกกำลังกายที่กำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ อีกเหตุผลหนึ่งก้คือ X (Twitter) นั้นยังเป็นแพลตฟอร์มที่ Influencer และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายมักใช้ในการสื่อสารกับผู้ติดตาม ทำให้เกิดการสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

น่าแปลกที่ Instagram อยู่อันดับ 3 ซึ่งมีการกล่าวถึงอยู่ที่ 4,786 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์ภาพและวิดีโอ ทำให้คนมักใช้ Instagram เพื่อแบ่งปันภาพถ่ายหรือวิดีโอเกี่ยวกับการออกกำลังกายของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายก่อนและหลังการออกกำลังกาย ภาพถ่ายอาหารเพื่อสุขภาพ หรือวิดีโอการออกกำลังกาย นอกจากนี้ Instagram ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ Influencer ด้านฟิตเนสใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำให้เกิดการสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายผ่านความคิดเห็นและการโต้ตอบกับผู้ติดตาม

TikTok มีการกล่าวถึงอยู่ที่ 1,690 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์วิดีโอสั้นและมีความสร้างสรรค์ ทำให้คนมักใช้ TikTok เพื่อแบ่งปันวิดีโอการออกกำลังกายที่สนุกสนานและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอการเต้นออกกำลังกาย วิดีโอการออกกำลังกายที่บ้าน หรือวิดีโอการออกกำลังกายที่ท้าทาย นอกจากนี้ TikTok ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เทรนด์การออกกำลังกายใหม่ๆ มักเกิดขึ้นและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายในรูปแบบที่แปลกใหม่ น่าสนใจ รวมถึงมีโอกาสเกิดเป็นกระแสที่ฉับไวกว่าช่องทางอื่นๆ

YouTube มีการกล่าวถึงอยู่ที่ 2,446 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นคอนเทนต์วิดีโอขนาดยาว ทำให้คนมักใช้ YouTube เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสอนออกกำลังกายแบบละเอียด วิดีโอรีวิวอุปกรณ์ออกกำลังกาย หรือวิดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ YouTube ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายมักใช้ในการให้คำแนะนำและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำให้เกิดการสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายในรูปแบบที่เน้นความรู้และข้อมูลเชิงลึก

Forum ต่างๆ มีการกล่าวถึงเพียง 1,800 ครั้ง:

  • เหตุผลที่คาด: Forum เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการสนทนาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบกระทู้ ทำให้คนมักใช้ Forum เพื่อถามตอบปัญหาเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพูดคุยกับคนที่มีความสนใจในการออกกำลังกายเหมือนกัน นอกจากนี้ Forum ยังเป็นแพลตฟอร์มที่คนมักใช้ในการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำให้เกิดการสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายในรูปแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชน

Social Data Stat Overview

5.jpg

จากข้อมูล Social Data Stat Overview พบว่า คอนเทนต์เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมและสร้าง Engagement สูงบน TikTok ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายและคลิปของ Influencer ที่มีชื่อเสียงมาสอนท่าออกกำลังกายต่างๆ โดยตัวอย่างคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ วิดีโอแสดงกิจวัตรการออกกำลังกายประจำวันหรือประจำสัปดาห์ คลิปแนะนำท่าออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน วิดีโอแสดงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (Transformation) และคลิปแสดงการออกกำลังกายที่เน้นการเต้นประกอบเพลง นอกจากนี้ วิดีโอสอนท่าออกกำลังกายโดย Influencer ด้านฟิตเนสที่มีชื่อเสียง คลิปรีวิวอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ โดย Influencer และวิดีโอให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายและโภชนาการโดย Influencer ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ลักษณะของคอนเทนต์ที่สร้าง Engagement สูงบน TikTok มักเป็นวิดีโอสั้นและกระชับ มีคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ มีเพลงประกอบที่สนุกสนาน มีการมีส่วนร่วมกับผู้ชม และมีการใช้ Hashtag ที่เกี่ยวข้อง คอนเทนต์เหล่านี้มักมีลักษณะที่ดึงดูดความสนใจได้ง่าย สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้ผู้ชมอยากลองทำตาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วม (Engagement) ที่สูงบนแพลตฟอร์ม TikTok

Social Data Stat by Hashtag Cloud

Sellsuki ใช้ Hashtag Cloud ฟีเจอร์ที่ช่วยค้นพบแฮชแท็กน่าสนใจ รวมไปถึงภาพรวมของข้อมูลและเทรนด์ที่สอดคล้องกับ Keyword ของเรา

11.jpg

หากต้องการจะหา Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับ การออกกำลังกาย เราก็ต้องไม่ลืมที่จะวิเคราะห์ข้อมูลจากที่ Hashtag Cloud ด้วยเช่นเดียวกัน

แต่ก่อนที่จะลงลึกไปในส่วนของรายละเอียด วันนี้ Sellsuki จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจคร่าวๆ กันก่อนว่า แฮชแท็กสำคัญกับการตลาดออนไลน์อย่างไร โดยแฮชแท็กไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ธรรมดา แต่เป็น เครื่องมือทรงพลัง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการตลาดออนไลน์ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น

  • เพิ่มการเข้าถึง (Reach): ช่วยให้โพสต์ของคุณไปไกลกว่าเดิม
  • สร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness): ให้คนจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
  • ส่งเสริมแคมเปญ (Campaign Promotion): กระตุ้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
  • วิเคราะห์เทรนด์ (Trend Analysis): เกาะติดกระแสที่ผู้บริโภคสนใจ
  • เสริม SEO: เพิ่มโอกาสให้แบรนด์ถูกค้นพบในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ Hashtag Cloud พบบน โซเชียลมีเดีย จะเห็นได้ว่าเทรนด์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ใน 5 อันดับแรกนั้นค่อนข้างที่จะแปรผัน

โดยทาง Sellsuki จะพาทุกคนมาเจาะลึกกันอีกหน่อยเกี่ยวกับ แฮชแท็ก (Hashtag) ที่น่าสนใจแต่ละตัว แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจคร่าวๆ ก่อนว่าเจ้าตัว “แฮชแท็ก” มันสำคัญอย่างไรกับ การตลาดออนไลน์ โดยแฮชแท็กเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มทั้ง การเข้าถึง (Reach) การรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) การส่งเสริมแคมเปญ (Campaign Promotion) วิเคราะห์เทรนด์ (Trend Analysis) และเสริมการทำ การตลาดออนไลน์ ผ่าน SEO ต่อไปเราจะมาวิเคราะห์แต่ละแฮชแท็กที่เกี่ยวกับ การออกกำลังกาย ซึ่งจากข้อมูล Social Data Stat Overview โดย Hashtag Cloud พบว่า เมื่อค้นหาแฮชแท็ก #ออกกำลังกาย บนโซเชียลมีเดีย ผู้คนส่วนใหญ่สนใจหาวิธีออกกำลังกายตามเวลา (เช่น ออกกำลังกาย 15 นาที, ออกกำลังกาย 30 นาที) และการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก โดย

  • มีการใช้คำค้นหาที่หลากหลายบนแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น:
    • Facebook: ออกกำลังกายที่บ้าน, ออกกำลังกายง่ายๆ
    • Instagram: ออกกำลังกายลดพุง, ออกกำลังกายลดน้ำหนัก
    • Google: ออกกำลังกายผู้หญิง, ออกกำลังกายผู้ชาย
    • YouTube: ออกกำลังกายลดขาใหญ่, ออกกำลังกายลดทุกส่วน
    • Tiktok : ออกกำลังกาย 15 นาที, ออกกำลังกายง่ายๆได้ที่บ้าน

ซึ่งข้อมูลชุดนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความสนใจในการออกกำลังกายที่หลากหลาย และแต่ละแพลตฟอร์มมีการใช้คำค้นหาที่แตกต่างกัน

12.jpg

หลังจากที่ทางทีมงานของ Sellsuki ได้รวบรวมแฮชแท็กยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายบนโซเชียลมีเดีย จะพบว่ามีการระบุถึงการใช้งานแฮชแท็กหลักๆ คือ #fitness และ #workout รวมถึง #fitnessmotivation และแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับ Influencer ซึ่งถ้าหากเราจทำการวิเคราะห์ส่วนนี้ให้ลึกลงไปอีกจะพบว่า: 

  • #fitness และ #workout คือแกนหลัก: ทั้งสองแฮชแท็กนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงความสนใจในภาพรวมของการออกกำลังกายและการรักษาความแข็งแรงของร่างกาย
  • #fitnessmotivation: แฮชแท็กนี้บ่งบอกถึงความต้องการสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียในการกระตุ้นและสนับสนุนผู้คนให้มีสุขภาพดี
  • อิทธิพลของ Influencer: แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับ Influencer สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ในการเผยแพร่คอนเทนต์และสร้างกระแสการออกกำลังกายบนโลกออนไลน์
  • ความหลากหลายของคอนเทนต์: แฮชแท็กอื่นๆ เช่น #gym, #running, #bodybuilder บ่งบอกถึงความหลากหลายของกิจกรรมการออกกำลังกายที่ผู้คนสนใจ
  • การตลาดของฟิตเนส: มีการใช้แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ออกกำลังกาย เช่น #fitnessfirstthailand เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

13.jpg

นอกเหนือจาก Hashtag Cloud แล้ว ทาง Sellsuki ยังคงใช้เครื่องมือ Social Listening อย่าง Ubersuggest ในการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Keyword “การออกกำลังกาย” โดยพบว่า 3 คีย์เวิร์ดที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ

  • อันดับ 1: คาร์ดิโอภายใน 15 นาที
  • อันดับ 2: วิธีลดต้นขาใหญ่
  • อันดับ 3: ลดหุ่นใน 15 นาที

Categories Overall

14.jpg

หลังจากที่เรารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการจัดกลุ่มข้อมูลเหล่านี้เป็นประเภท (Categories) เพื่อช่วยในการกำหนดหัวข้อหรือประเด็นเชิงลึก (Insights) ที่จะทำให้การศึกษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ข้อมูลกว่า 25,000 Mentions สามารถแบ่งประเภทได้อย่างไรบ้าง 

หากจะพูดถึงเรื่องการออกกำลังกายแล้ว จะพบว่า 4 ประเด็นที่กลายมาเป็นประเด็นในการสนทนาบนโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ “Key Factors” หรือ “ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง” สูงถึง 35.4% ส่วนอันดับที่ 2 คือ “รูปแบบการออกกำลังกาย” โดยมีการกล่าวถึงบนโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 26.4% ในส่วนของอันดับที่ 3 นั้นถือว่าเป็นจัดเป็นประเด็นเรื่อง “ประเภทการออกกำลังกาย” ซึ่งคิดเป็น 19.3% ของการกล่าวถึงบนโซเชียลมีเดีย และอันดับสุดท้ายที่ถูกกล่าวถึงคือ “สถานที่ออกกำลังกาย” ซึ่งคิดเป็นเพียง 18.9% ของการกล่าวถึงบนโลกออนไลน์ทั้งหมดนั่นเอง

ประเภทของการออกกำลังกาย

15.jpg

หลังจากที่ทีมงาน Sellsuki ได้ทำการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน Social Listening พบว่า 

 1. Weight Training (เวทเทรนนิ่ง) ถูกพูดถึงมากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน 57.5%

  • เหตุผลที่คาด:
    • ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัด: การสร้างกล้ามเนื้อและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอมาแชร์บนโซเชียลมีเดียได้ง่าย ทำให้เกิดการพูดถึงและแชร์ต่อกัน
    • Influencer และเทรนด์: Influencer ด้านฟิตเนสส่วนใหญ่มักจะเน้นการเวทเทรนนิ่ง ทำให้เกิดกระแสและเทรนด์การออกกำลังกายที่เน้นการยกน้ำหนัก
    • ความหลากหลาย: เวทเทรนนิ่งสามารถทำได้หลากหลายท่าและใช้อุปกรณ์ได้หลายแบบ ทำให้มีคอนเทนต์ให้พูดถึงและแชร์ได้เยอะ

2. Stretching (การยืดเหยียด) ถูกพูดถึงอยู่ที่ 17.3%

  • เหตุผลที่คาด:
    • โยคะและพิลาทิส: การออกกำลังกายประเภทนี้ได้รับความนิยมบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมีท่าทางที่สวยงามและสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอได้
    • การฟื้นฟูร่างกาย: การยืดเหยียดถูกพูดถึงในบริบทของการฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกาย หรือการป้องกันการบาดเจ็บ
    • ความผ่อนคลาย: การยืดเหยียดถูกพูดถึงในแง่ของการช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

3. Cardio (คาร์ดิโอ) ถูกพูดถึงอยู่ที่ 13.5% 

  • เหตุผลที่คาด:
    • การลดน้ำหนัก: คาร์ดิโอถูกพูดถึงในบริบทของการลดน้ำหนักและเผาผลาญแคลอรี่
    • การออกกำลังกายที่บ้าน: การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่สามารถทำได้ที่บ้าน เช่น การเต้นแอโรบิก หรือการวิ่งบนลู่ ถูกพูดถึงในแง่ของความสะดวก
    • ความท้าทาย: การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่ท้าทาย เช่น การวิ่งมาราธอน หรือการปั่นจักรยานทางไกล ถูกพูดถึงในแง่ของความสำเร็จและความมุ่งมั่น

4. Balance Exercise (การออกกำลังกายเพื่อการทรงตัว) ถูกพูดถึงน้อยที่สุด เพียง 11.7% 

  • เหตุผลที่คาด:
    • ความน่าเบื่อ: การออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวอาจถูกมองว่าน่าเบื่อและไม่น่าสนใจ
    • การมองข้ามความสำคัญ: หลายคนอาจมองข้ามความสำคัญของการออกกำลังกายประเภทนี้
    • คอนเทนต์ที่จำกัด: การออกกำลังกายเพื่อการทรงตัวอาจมีคอนเทนต์ให้พูดถึงและแชร์ได้น้อยกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่น

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทการออกกำลังกาย

 

Cardio

Weight training

 

Stretching

 

Balance Exercise

 

 

 

 

 

ลักษณะ

 

การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ

 

การใช้แรงต้าน เช่น น้ำหนักตัวหรืออุปกรณ์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อ โดยจะทำการเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ ตามความแข็งแรงของร่างกาย

 

การยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและช่วงการเคลื่อนไหวของร่างกาย

 

การออกกำลังกายที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความสมดุลและการควบคุมร่างกาย

 

 

 

 

 

 

ประโยชน์

 

เสริมสร้างระบบหัวใจและปอด เพิ่มความทนทานของร่างกาย เผาผลาญแคลอรี่และช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 

เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก กระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน ปรับปรุงการท่าทางและการเคลื่อนไหวร่างกาย 

 

เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงท่าทางและการเคลื่อนไหว ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

 

ปรับปรุงความสมดุลและการควบคุมร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง

 

 

ตัวอย่างกิจกรรม

 

การวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิก

 

การยกน้ำหนัก, การวิดพื้น, การสควอท 

 

โยคะ, พิลาทิส

 

ยืนขาเดียว, ฝึกบนบอร์ดทรงตัว, ไทชิ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เทรนด์การออกกำลังกาย 

17.jpg

เมื่อพูดถึงเทรนด์การออกกำลังกาย เราสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภทหลักๆ ตามความสนใจของผู้คนในสังคมออนไลน์ ซึ่งแต่ลเทรนด์ก็จะมีจุดเด่นและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

  • วิ่ง (29.3%):
    • การวิ่งเป็นกิจกรรมที่เข้าถึงง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก และสามารถทำได้ทุกที่ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก
    • การวิ่งถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ในแง่ของการลดน้ำหนัก การเสริมสร้างสุขภาพ และการแข่งขัน
  • เล่นกีฬา (24.3%):
    • กีฬามีหลากหลายประเภท ทำให้ครอบคลุมกลุ่มคนที่มีความสนใจที่แตกต่างกัน
    • การเล่นกีฬาถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียในแง่ของความสนุกสนาน การเข้าสังคม และการแข่งขัน
  • โยคะ (13.6%):
    • โยคะได้รับความนิยมเนื่องจากช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความผ่อนคลาย
    • โยคะถูกพูดถึงในแง่ของการดูแลสุขภาพจิตและร่างกายแบบองค์รวม
  • พิลาทิส (7.6%):
    • พิลาทิสเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และช่วยปรับปรุงท่าทาง
    • พิลาทิสถูกพูดถึงในแง่ของการฟื้นฟูร่างกายและป้องกันการบาดเจ็บ
  • Body Weight (6.6%):
    • การออกกำลังกายแบบ Body Weight ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ และสามารถทำได้ทุกที่
    • การออกกำลังกายแบบ Body Weight ถูกพูดถึงในแง่ของการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความสะดวกในการทำ

จากข้อมูล Social listening พบว่าการวิ่งและการเล่นกีฬานั้นเป็นที่พูดถึงในวงกว้างมากๆ เหตุผลเนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่เข้าถึงได้ง่าย ทำได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมาย มีรูปแบบการนำเสนอcontent ได้อย่างน่าสนใจ และยังได้รับผลพลอยได้ในด้านการเข้าสังคมอีกด้วย ส่วนโยคะและพิลาทิส ถูกนำเสนอในรูปแบบของการดูแลสุขภาพเเละรูปร่าง รวมถึงยังมีเทรนด์การนำเสนอ content ที่ดูสวยงาม ทำให้มีคนพูดถึงในวงกว้างเช่นกัน สำหรับ Body weight เป็นที่พูดถึงในเรื่องของการเน้นความเเข็งแรงแบบไม่ต้องมีอุปกรณ์ ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจในวงกว้างบนโซเชียลมีเดียในปัจจุบันเช่นกัน

คำอธิบายเพิ่มเติม 

การวิ่ง: เป็นการออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ มาตลอด เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก ทำคนเดียวได้ สามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในสวนสาธารณะหรือบนลู่วิ่งไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ตามมาด้วยการเล่นกีฬา

เล่นกีฬา: เช่น ฟุตบอล หรือแบดมินตัน เป็นกีฬาที่นิยมมากในกลุ่มวัยเรียน วัยทำงาน ที่ต้องการการออกกำลังกายและความสนุกสนาน โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการใช้ร่างกายหนักเกินไป และยังได้ใช้เวลาร่วมกันกับกลุ่มเพื่อนอีกด้วย

โยคะ/พิลาทิส: สองประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นจากแนวโน้ม Holistic Health หรือสุขภาพแบบองค์รวม ผู้คนให้ความสำคัญกับความสมดุลของร่างกายและจิตใจ มากกว่าการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญแคลอรี่เพียงอย่างเดียว

Key Factors

19.jpg

จากข้อมูลที่ทางทีมงาน Sellsuki พบว่า Key Factors สามารถแบ่งออกได้ 5 ปัจจัยด้วยกัน ดังนั้น Sellsuki ขอนำพาทุกท่านสู่การวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยเน้นไปที่บริบทของโซเชียลมีเดีย ดังนี้ 

1. สร้างกล้ามเนื้อ (34.1%)

  • ทำไมถึงถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียมากเป็นอันดับแรก:
    • Visual Appeal: ภาพและวิดีโอของการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (transformation) การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง และกล้ามเนื้อที่สวยงามได้รับความนิยมสูงบนแพลตฟอร์มที่เน้นภาพ เช่น Instagram และ TikTok
    • แรงบันดาลใจและแรงจูงใจ: อินฟลูเอนเซอร์และผู้ใช้ทั่วไปแชร์เคล็ดลับการสร้างกล้ามเนื้อ โปรแกรมการออกกำลังกาย และผลลัพธ์ของตนเอง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
    • ชุมชนออนไลน์: กลุ่มและเพจเกี่ยวกับการสร้างกล้ามเนื้อเป็นแหล่งรวมตัวของผู้ที่มีความสนใจเหมือนกัน พวกเขาแลกเปลี่ยนข้อมูล สนับสนุนกัน และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
    • ความท้าทายและกิจกรรม: ความท้าทายในการออกกำลังกาย (fitness challenges) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกล้ามเนื้อถูกจัดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนมีส่วนร่วม

2. ลดน้ำหนัก (24.8%)

  • ทำไมถึงถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียเป็นอันดับที่ 2:
    • ความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์: การลดน้ำหนักมักเกี่ยวข้องกับความสวยงามและรูปร่างที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจบนโซเชียลมีเดีย
    • การแชร์ประสบการณ์: ผู้คนแชร์เรื่องราวการลดน้ำหนักของตนเอง รวมถึงความสำเร็จและความท้าทาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและขอคำแนะนำ
    • ผลิตภัณฑ์และบริการ: ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักถูกโปรโมทบนโซเชียลมีเดียผ่านโฆษณาและอินฟลูเอนเซอร์
    • ความหลากหลายของคอนเทนต์: มีคอนเทนต์เกี่ยวกับการลดน้ำหนักหลากหลายรูปแบบ เช่น สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ และเคล็ดลับการควบคุมอาหาร

3. ป้องกันโรค (20.1%)

  • ทำไมถึงถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียเป็นอันดับที่ 3:
    • การสร้างความตระหนัก: องค์กรสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค
    • การสนับสนุนจากผู้ป่วย: ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังแชร์ประสบการณ์การออกกำลังกายเพื่อจัดการกับอาการและปรับปรุงคุณภาพชีวิต
    • การเข้าถึงข้อมูล: โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้สะดวก
    • การสร้างชุมชน: กลุ่มและเพจเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเป็นแหล่งรวมตัวของผู้ที่มีความสนใจเหมือนกัน

4. ลดความเครียด (16.4%)

  • ทำไมถึงถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียค่อนข้างน้อย:
    • การเชื่อมโยงกับสุขภาพจิต: โซเชียลมีเดียมีการพูดถึงสุขภาพจิตมากขึ้น ทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายในการจัดการความเครียด
    • การแชร์กิจกรรมผ่อนคลาย: กิจกรรมการออกกำลังกายที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น โยคะและสมาธิ ถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต
    • การสร้างสมดุลชีวิต: ผู้คนแชร์เคล็ดลับการสร้างสมดุลระหว่างการทำงาน การออกกำลังกาย และการพักผ่อน
    • การสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ: ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตแนะนำการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเครียด

5. เพิ่มความคล่องตัว (4.6%)

  • ทำไมถึงถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียน้อยที่สุด:
    • การเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกาย: ความคล่องตัวมักถูกพูดถึงเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ เช่น โยคะ พิลาทิส หรือการวอร์มอัพ/คูลดาวน์
    • การเน้นที่ประโยชน์ระยะยาว: ประโยชน์ของความคล่องตัว เช่น การป้องกันการบาดเจ็บและการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น อาจไม่ดึงดูดความสนใจเท่ากับผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนกว่า เช่น การสร้างกล้ามเนื้อหรือการลดน้ำหนัก
    • คอนเทนต์เฉพาะกลุ่ม: คอนเทนต์เกี่ยวกับการเพิ่มความคล่องตัวอาจเจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น นักกีฬา หรือผู้สูงอายุ

20.jpg

Heart Rate Zone 
คือการแบ่งระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายตามอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate: HR) ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าร่างกายทำงานในระดับใด โดย แบ่งออกเป็น 5 โซนหลัก 

การคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Max Heart Rate: MHR)

  • สูตรคำนวณ:
    • ผู้ชาย: MHR = 214 - (0.8 x อายุ)
    • ผู้หญิง: MHR = 209 - (0.7 x อายุ)

โซนต่างๆ และประโยชน์

  • Zone 1: Very Light (50-60% ของ MHR):
    • ประโยชน์: ฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายหนัก
    • เวลา: 20-40 นาที
  • Zone 2: Light (60-70% ของ MHR):
    • ประโยชน์: เผาผลาญไขมัน
    • เวลา: 40-80 นาที
  • Zone 3: Moderate (70-80% ของ MHR):
    • ประโยชน์: เสริมความทนทานของกล้ามเนื้อ
    • เวลา: 10-40 นาที
  • Zone 4: Hard (80-90% ของ MHR):
    • ประโยชน์: เพิ่มความเร็วและพลัง, พัฒนา VO2 Max, เสริมสมรรถภาพกิจกรรมที่มีความเข้มข้นสูง
    • เวลา: 2-10 นาที
    • ข้อควรระวัง: อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด, เป็นลม, ความดันโลหิตสูง
  • Zone 5: Maximum (90-100% ของ MHR):
    • ประโยชน์: พัฒนาสมรรถภาพสูงสุดสำหรับนักกีฬา
    • เวลา: ไม่เกิน 5 นาที
    • ข้อควรระวัง: อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง

สถานที่ออกกำลังกาย

21.jpg

เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านสถานที่สำหรับการออกกำลังกาย พบว่าแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • Gym/Fitness: นำโด่งถึง 60.2%: 
    • คือสถานที่ออกกำลังกายแบบดั้งเดิม เช่น ฟิตเนส, ยิม, หรือสตูดิโอที่มีอุปกรณ์และคลาสต่างๆ
  • บ้าน: ผู้คนออกกำลังกายบ้านกันแค่ 39.8%: 
    • คือการออกกำลังกายที่ทำเองที่บ้าน หรือบริเวณรอบบ้าน

ทำไมถึงเป็นแบบนี้?

  • Gym/Fitness:
    • คนอาจชอบเพราะมีอุปกรณ์หลากหลายที่บ้านไม่มี
    • บรรยากาศในยิมอาจช่วยสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย
    • มีผู้ฝึกสอน หรือ เทรนเนอร์ คอยให้คำแนะนำ รวมถึงคอยดูแลเรื่องควา
    • ปลอดภัยของผู้เล่นและคอยป้องกันอาการบาดเจ็บ
    • มีตัวเลือกเช่น โยคะ พิลาทิส ฯลฯ ที่ช่วยให้การออกกำลังกายสนุกขึ้น
    • การสมัครสมาชิกยิมช่วยทำให้เรามีวินัยในการออกกำลังกายมากขึ้น
  • บ้าน:
    • สะดวกสบาย ทำได้ทุกเวลา ไม่ต้องเดินทาง
    • ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่าสมาชิก
    • มีความเป็นส่วนตัวมากกว่า

สัดส่วนประชากรที่สนใจ

23.jpg

กราฟนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

  • กราฟวงกลมด้านซ้าย: แสดงสัดส่วนความสนใจในการออกกำลังกายระหว่างเพศชายและหญิง
  • กราฟแท่งด้านขวา: แสดงจำนวนการพูดถึง (mention) หรือความสนใจในการออกกำลังกาย จำแนกตามช่วงอายุ และแบ่งตามเพศ

การวิเคราะห์กราฟวงกลม (เพศ):

  • แสดงให้เห็นว่าเพศหญิงมีความสนใจในการออกกำลังกายมากกว่าเพศชาย โดยมีสัดส่วน 55% ต่อ 45%
  • แน่นอนว่าสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะพูดถึงหรือมีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับการออกกำลังกายบนโซเชียลมีเดียมากกว่าผู้ชาย

การวิเคราะห์กราฟแท่ง (ช่วงอายุ):

  • ช่วงอายุที่โดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญ:
    • ช่วงอายุ 25-34 ปี เป็นช่วงที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจในการออกกำลังกายมากที่สุด ทั้งในเพศชายและหญิงอย่างเห็นได้ชัด อาจะเป็นเพราะ
      • ช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยทำงานที่คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ
      • คนวัยนี้อาจจะใส่ใจรูปร่างหน้าตามากกว่าวัยอื่น
      • มีกำลังในการซื้อสินค้าหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับากรออกกำลังกาย
    • เพศหญิงในวัยนี้แสดงความสนใจมากกว่าเพศชายอย่างเห็นได้ชัดเจน
  • ช่วงอายุอื่นๆ:
    • ช่วงอายุ 18-24 ปี ก็มีความสนใจกับการออกกำลังกายสูงรองลงมา อาจะเป็นเพราะ
      • การเข้าสู่มหาวิทยาลัยหรือชีวิตวัยทำงาน ทำให้ใส่ใจรูปร่างหน้าตามากขึ้น
      • อิทธิพลของโซเชียลมีเดียและเทรนด์การออกกำลังกาย
      • ความต้องการสร้างความมั่นใจและดึงดูดความสนใจ
    • ช่วงอายุ 25-34 ปี มีความสนใจกับการออกกำลังกายเป็นอันดับที่ 3 
      • เนื่องจากคนกลุ่มนี้บางคนเริ่มมีตำแหน่งและความรับผิดชอบที่สูงขึ้นในหน้าที่การงานและบทบาทหัวหน้าครอบครัว จึงเป็นไปได้ว่าจะให้ความสนใจกับการออกกำลังกายน้อยลง
      • อาจสนใจการออกกำลังกายเพราะความต้องการรักษารูปร่างหลังแต่งงานหรือมีบุตร
    • ช่วงอายุ 35-44 ปี ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายเป็นอันดับที่ 4 อาจะเป็นเพราะ
      • ภาระหน้าที่ครอบครัวและหน้าที่การงานที่มากขึ้น
      • ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพที่เริ่มมากขึ้น
      • ความสนใจอาจเปลี่ยนไปสู่กิจกรรมอื่นๆ
    • ช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายเป็นอันดับที่ 4 อาจะเป็นเพราะ
      • ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอายุ
      • ข้อจำกัดทางร่างกายที่อาจทำให้การออกกำลังกายบางประเภททำได้ยา
      • ความสนใจอาจมุ่งไปที่กิจกรรมที่เน้นการผ่อนคลาย
    • ช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายน้อยที่สุด อาจะเป็นเพราะ
      • การออกกำลังกายอาจถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมบังคับในโรงเรียน
      • ความสนใจอาจมุ่งไปที่กิจกรรมอื่นๆ เช่น เกม หรือโซเชียลมีเดีย
      • การเข้าถึงยิมหรือคลาสออกกำลังกายอาจมีข้อจำกัด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง และคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในวัยเรียน ซึ่งยังคงต้องพึ่งพารายได้จากทางผู้ปกครอง

Step 4 - Summarize

24.jpg

ในยุคปัจจุบัยการออกกำลังกายนั้นไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไปแล้ว แต่ถือเป็นกุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพดีในยุคปัจจุบัน หลายคนเลือกที่จะเข้ายิม เพราะที่นี่ไม่เพียงแต่มีอุปกรณ์ครบครัน รองรับการออกกำลังกายทุกรูปแบบ ทั้งคาร์ดิโอ เวทเทรนนิ่ง ยืดเหยียด และบาลานซ์ แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ ช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ บรรยากาศในยิมยังสร้างแรงบันดาลใจให้หลายคนมีความกระตือรือร้นในการออกกำลังกายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายที่บ้านก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เช่น การวิ่ง หรือเล่นกีฬา ทำให้ตอบโจทย์คนที่มีตารางงานแน่น หรือไม่ชอบบรรยากาศในฟิตเนส การเลือกสถานที่ออกกำลังกายจึงขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ไลฟ์สไตล์ และแรงจูงใจส่วนบุคคล

อีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญในการออกกำลังกายให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี คือการวางแผนและเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยและไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินขีดจำกัดของตัวเอง ที่สำคัญการรู้ Heart Rate Zone ของตนเองจะช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Step 5 - Make Solution & Idea

เคล็ดลับสร้างแบรนด์ธุรกิจฟิตเนสให้มีคนล้นแบบฉุดไม่อยู่ (ฉบับรวบรัด แต่เดี๋ยวมีฉบับเต็มมาให้อ่านกันเร็วๆนี้!!)

1. สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น:

  • เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ: กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ผู้หญิงวัยทำงาน, นักกีฬา, หรือผู้สูงอายุ เพื่อสร้างแบรนด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขา
  • สร้าง storytelling และตัวตนของแบรนด์ให้เด่นชัด: พัฒนาการเล่าเรื่องราวและสร้างตัวตนของแบรนด์ฟิตเนสของคุณให้น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจ เช่น การเน้นการสร้าง community รวมพลคนรักสุขภาพ, การพัฒนาตนเอง, หรือส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้คนที่มาใช้บริการเกิดความรู้จัก สนิทสนม และมีโอกาสได้พูดคุยกัน ที่สามารถนำสู่การนัดกันมาฟิตเนสของคุณได้ในอนาคต
  • พัฒนา Brand Identity: สร้างโลโก้, สี, และรูปแบบการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์และสะท้อนถึงบุคลิกของแบรนด์ ซึ่งทางทีมงาน Sellsuki ขอแนะนำว่าควรเป็นการสื่อสารที่เข้าถึงลูกค้าง่าย และแบรนด์ควรวางตัวให้ใกล้ชิด หรือ สนิทสนมกับลูกค้า

2.มอบประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมาย:

  • สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง: จัดพื้นที่ให้สะอาด สวยงาม และสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง
  • ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้า: ฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะการบริการที่ดีเยี่ยม ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสมาชิกทุกคน

3.สร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์:

  • สร้างคอนเทนต์ที่หลากหลาย: ผลิตคอนเทนต์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ เช่น เคล็ดลับการออกกำลังกาย, สูตรอาหารเพื่อสุขภาพ, บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ, หรือเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ
  • ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มต่างๆ: เผยแพร่คอนเทนต์บนเว็บไซต์, บล็อก, โซเชียลมีเดีย, และช่องทางอื่นๆ ที่กลุ่มเป้าหมายใช้งาน
  • สร้างการมีส่วนร่วม: กระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยการถามคำถาม, จัดโพล, หรือจัดกิจกรรมออนไลน์

4.เลือกอินฟลูให้ถูกคน:

  • เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสม: เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามตรงกับกลุ่มเป้าหมายของฟิตเนส และมีภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับแบรนด์
  • สร้างความร่วมมือที่สร้างสรรค์: ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ เช่น วิดีโอออกกำลังกาย, รีวิวคลาส, หรือโปรโมชั่นพิเศษ
  • สร้างความน่าเชื่อถือ: ให้อินฟลูเอนเซอร์แชร์ประสบการณ์จริงและพูดถึงประโยชน์ของการใช้บริการฟิตเนส

5. จัดกิจกรรมและโปรโมชั่นที่ดึงดูด:

  • จัดกิจกรรมที่น่าสนใจ: จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น คลาสออกกำลังกายแบบ bootcamp และ กิจกรรมพิเศษตามเทศกาล เป็นต้น
  • สร้างโปรโมชั่นที่ดึงดูด: สร้างโปรโมชั่นที่น่าสนใจ เช่น ลดราคาค่าสมาชิก, ฟรีคลาสทดลอง, หรือของรางวัลพิเศษ

6.สร้างระบบ CRM ที่แข็งแกร่ง:

  • มอบสิทธิประโยชน์พิเศษ: มอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้กับสมาชิก เช่น ส่วนลด, คลาสพิเศษ, หรือบริการเสริม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดี: สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกโดยการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ หรือ จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับสมาชิก รวมทั้งยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อต้องการ
  • สร้างระบบสมาชิกที่ใช้งานง่าย: สร้างระบบสมาชิกที่ใช้งานง่ายและสะดวกสบาย เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ

7.วัดผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง:

  • กำหนดตัวชี้วัด: กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อวัดผลลัพธ์ของแคมเปญ เช่น จำนวนสมาชิกใหม่, อัตราการเข้าใช้บริการ, หรือความพึงพอใจของลูกค้า
  • ใช้เครื่องมือวิเคราะห์: ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อติดตามผลลัพธ์และรวบรวมข้อมูล
  • ปรับปรุงกลยุทธ์: วิเคราะห์ข้อมูลและปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดอยู่เสมอ

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกยังไม่พร้อมในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร รวมถึงอาจจะยังไม่ชำนาญในบางแพลตฟอร์ม แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ Sellsuki อยากพาธุรกิจของคุณโตไปกับเรานะ เรามีบริการครบวงจรบนโลกธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น บริการที่ปรึกษาธุรกิจการตลาดแบบครบวงจร (WizeMoves Consult) ผู้ช่วยจัดจำหน่ายออนไลน์ครบวงจร ดูแลครอบคลุมทุกขั้นตอนการขาย (WizeMoves e-Dis) บริการโฆษณาออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม (WizeMoves Ads) บริการดูแล LINE Official Account ครบวงจร ที่มีลูกค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ กว่า 9,0000 บัญชี (LINE Agency) และอื่นๆ อีกมากมายที่ Sellsuki มีพร้อมให้คุณ

สำหรับคนที่อยากได้ Data Research Insight เวอร์ชันเต็มของเดือนนี้ สามารถดาวน์โหลดฟรี เพียงลงทะเบียนด้านล่างได้เลย!

และเพื่อไม่ให้พลาดความรู้และสาระสำคัญแบบนี้ก่อนใคร อย่าลืมกดติดตามน้องสุกิบนช่องทาง Facebook, Youtube, Instagram และ TikTok 

สำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการผู้ช่วยธุรกิจออนไลน์ และที่ปรึกษาธุรกิจมืออาชีพ ที่พร้อมพาธุรกิจของคุณเติบโตไปอีกขั้น Sellsuki เป็นมากกว่าเพื่อนคู่คิดที่คุณกำลังมองหา

เพราะเรามีบริการครบวงจรบนโลกธุรกิจออนไลน์ โดยสามารถตอบโจทย์ตรงจุดทุกความต้องการ เราพร้อมแล้วที่จะพาธุรกิจของคุณเติบโตไปกับเรานะ

แท็ก Data ResearchMarketing

แชร์

บทความนี้มีประโยชน์กดชอบเป็นกำลังใจให้เราได้
Like this article
Unlock the Power of Data
ดาวน์โหลดฟรี! คู่มือการวิจัยข้อมูล
เรียนรู้กลยุทธ์ เครื่องมือ และเคล็ดลับ
Unlock the Power of Data
ดาวน์โหลดฟรี! คู่มือการวิจัยข้อมูล
เรียนรู้กลยุทธ์ เครื่องมือ และเคล็ดลับ