หม่าล่า กลายเป็นรสชาติยอดนิยมจากประเทศจีนที่กำลังมาแรงในไทย ด้วยเอกลักษณ์ของรสชาติเผ็ดร้อน ผสมกับความชานิดๆ จากเครื่องเทศต่างๆ
ความเผ็ดชาของหม่าล่านั้นมาจากส่วนผสมหลักอย่างพริกไทยเสฉวน หรือ ฮวาเจียว ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ฮวาเจียวมีกลิ่นหอมแรงและรสเผ็ดชาลิ้นที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เพียงแค่ความอร่อย ฮวาเจียวยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
ความนิยมของหม่าล่าในไทยนั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันร้านหม่าล่ามีให้เห็นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหม่าล่าสายพานแบบชาบู ร้านหมาล่าเสียบไม้ ร้านหม่าล่าทั่ง มีทั้งร้านใหญ่แบรนด์ดัง ไปจนถึงร้านเล็กๆ ปี 2567 คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดหม่าล่าในไทยจะแตะ 12,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 20% การแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดหม่าล่า ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
หม่าล่ายังคงเป็นอาหารยอดนิยมในประเทศไทย เนื่องจากสามารถนำไปปรับให้เข้ากับหลายๆ เมนูของไทยได้ Sellsuki จึงใช้เครื่องมือ Social Listening ในการสำรวจหา Insight ของตลาดหม่าล่า เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ตามขั้นตอนของ Data Research Blueprint
กำหนดหัวที่ต้องการศึกษาว่า ในโลกโซเชียลกำลังผู้ถึงอะไร ซึ่งในบทความนี้ เราต้องการสำรวจตลาดหมาล่า ว่าทำไมหม่าล่าถึงได้รับความนิยมในประเทศไทย และควรทำการตลาด หรือวางแผนกลยุทธอย่างไร เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค
กำหนด Keyword และระยะเวลาในการดึงข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งบทความนี้ เรากำหนดมา 2 คำ คือ หม่าล่า และ Mala Hotpot
เมื่อเลือก Keyword ได้แล้ว ต่อมาเข้าสู่การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Gathering) หรือการทำ Research โดยใช้ Keyword ในการดึงข้อมูล ซึ่งเรากำหนดระยะเวลาการดึงข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ 30/10/2023 - 30/01/2024 หรือเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเราได้ข้อมูลทั้งหมด 57,933 Mentions บนช่องทาง Facebook, X (Twitter), Instagram, Youtube และ TikTok โดยข้อมูลที่ได้มาเป็นโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์ม
ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ต้องตรวจสอบว่ามีข้อมูลแบบไหนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้บ้าง หากพบข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องให้ทำลบออก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปใช้งานเท่านั้น
สัดส่วนการพูดถึง (Mentions) พบว่า โซเชียลมีเดียที่กล่าวถึง หม่าล่า มากที่สุดคือ X (Twitter) และ Facebook โดยเกิดจากกลยุทธ์การตลาดแบบ Influencer Marketing ที่มักจะรีวิวร้านหม่าล่า และทำคอนเทนต์รีวิวที่ดึงดูดผู้ชม นอกกจากนี้ยังมีงแบรนด์ต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์เมนูพิเศษรสชาติหม่าล่าออกมา และทำ Content Marketing ที่ให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์นั้น ๆ ซึ่งสามารถสร้าง Awareness และ Engagement ได้ค่อนข้างสูง
เมื่อดูจาก ENGAGEMENT ของแต่ละแพลตฟอร์มจะพบว่าคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมจะแตกต่างกันออกไป โดยเริ่มจากแพลตฟอร์มที่เป็นวีดีโออย่าง Reels จะเป็นวิธีการสอนทำหม่าล่าง่าย ๆ ที่สามารถทำได้เองที่บ้าน ส่วน X จะเป็นการทวิตถึงการให้รางวัลตัวเองด้วยหม่าล่า และใน TikTok จะเป็นการแชร์ประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจเกี่ยวกับหม่าล่า สุดท้าย Youtube จะเป็นการรีวิวร้านหม่าล่าจาก Influencer และดาราดัง
Hashtag Cloud คือฟีเจอร์ที่เป็นพื้นฐานในการอ่านภาพรวมของข้อมูลและเทรนด์ว่ามี Hashtag ไหนที่น่าสนใจและกำลังถูกพูดถึงมากที่สุด
จากข้อมูลของ Hashtag Cloud จะพบว่า #หม่าล่า ถูกพูดถึงมากที่สุด ตามมาด้วย #อร่อยบอกต่อ และ #ชาบู ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคชื่นชอบในการรับประทานชาบูหม่าล่า และมีการรีวิวเพื่อบอกต่อคนอื่น ๆ ผ่าน Hashtag อีกด้วย
จากการสำรวจ Hashtag Cloud พบว่า คนส่วนใหญ่ค้นหาร้านหม่าล่าตามทำเลต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคต้องการรับประสบการณ์จากหม่าหลายที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในเรื่องของเมนู รูปแบบ และความอร่อย ยิ่งร้านไหนที่ได้รับการรีวิวในด้านบวก หรือสร้างสรรค์เมนูที่มีความแตกต่าง แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะไปพิสูจน์ความอร่อย
Sellsuki ได้เลือกใช้เครื่องมือ Ubersuggest เพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ หม่าล่า โดยพบว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ได้แก่
เราสามารถแบ่ง Categories ได้หลังจากการวิเคราะห์เบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้เรากำหนดหัวข้อ และ Insight ของสิ่งที่เราต้องการศึกษาได้ เรามาดูกันดีกว่าว่า หากเราแบ่งกลุ่มข้อมูล 57,933 Mentions แล้ว จะพบข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง
จากข้อมูลพบว่า Key Factor ที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือ คุณภาพ คิดเป็น 70.1% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผู้บริโภคให้ความสนใจค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ วัตถุดิบ และความสะอาด ทุกอย่างต้องสอดคล้องกัน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยอมเสียเงินที่มากขึ้น เพื่อรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
ในปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานหม่าล่าอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ
วัตถุดิบเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในหม่าล่า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบในการรับประทานหมู เนื้อ ไก่ และสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง หรือหอย ซึ่งวัตถุเหล่านี้เป็นวัตถุดิบทั่ว ๆ ไปที่สามารถพบเจอได้ตามร้านบุฟเฟ่ต์ ซึ่งคุณภาพก็จะขึ้นอยู่กับราคาของแต่ละร้าน
ด้วยความเผ็ดร้อนของซุปหม่าล่าแบบดั้งเดิม ทำให้หลาย ๆ ร้านมีการเพิ่มน้ำซุปชนิดอื่นเข้ามา สำหรับคนที่ไม่ชอบอาหารเผ็ด เนื่องจากซุปหม่าล่าแบบดั้งเดิมจะผัดจากน้ำมัน สมุนไพร และเครื่องเทศต่าง ๆ ทำให้เมื่อต้มไปนาน ๆ แล้วจะยิ่งเผ็ดขึ้น และเค็มขึ้น ทำให้ไม่เหมาะกับการซดน้ำซุป โดยปกติแล้วจะเอาไว้ใช้ลวกเนื้อสัตว์และผักเท่านั้น เพราะด้วยความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ แต่ก็ยังมีหม่าล่าอีกประเภทคือ หม่าล่าทั่ง ที่บางร้านปรับลดความเข้มข้นลง เพื่อให้รับประทานน้ำซุปได้
สำหรับ Brand Highlight ที่มีการถูกพูดถึงบนโซเชียลมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ Hai Di Lao Hotpot, อี้จาสุกี้หม่าล่า, สุกี้จินดา, You&I Premium Suki Buffet และ Le Hot ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นชาบูหม่าล่าแบบ A La Carte และเป็นหม่าล่าสายพาน
ทำไมหม่าล่าแบบ A La Carte ถึงได้รับความนิยม
ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพและความคุ้มค่า ร้านชาบูหม่าล่าแบบ A La Carte กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ด้วยคุณภาพอาหาร บรรยากาศ และการบริการที่เหนือกว่า แม้ราคาจะสูงกว่าแบบบุฟเฟ่ต์ แต่ลูกค้าก็ยอมจ่ายเพื่อประสบการณ์การทานอาหารที่ดีกว่า
ตลาดหม่าล่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ในปี 2567 รูปแบบร้านหม่าล่าเริ่มเปลี่ยนจากหม่าล่าสายพานเป็นแบบบุฟเฟต์มากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
บนโซเชียลมีเดีย ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ "คุณภาพ" ของอาหาร ร้านหม่าล่าอย่าง Haidilao Hotpot และ CQK Mala Hotpot เป็นสองแบรนด์ที่โด่งดังเรื่องคุณภาพ
นอกจากหม่าล่าหม้อไฟและชาบูที่มีวัตถุดิบ รวมถึงน้ำซุปให้เลือกอย่างหลากหลายแล้ว ยังมีหม่าล่าประเภทอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น หม่าล่าทั่งแบบจานเดี่ยวสำหรับคนเร่งรีบ หรือหม่าล่าเสียบไม้ราคาถูก รสชาติเผ็ดชา ถูกปากคนไทย
ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ตลาดหม่าล่าควรศึกษาพฤติกรรมการรับประทานหม่าล่าของผู้บริโภค พร้อมกับสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อให้ลูกค้าสัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างจากร้านอื่น
การศึกษาข้อมูลด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และการแข่งขันที่สูงในตลาด จะช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนและปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
ทั้งหมดนี้คือ Data Search Insight ที่เจาะลึกเพื่อสำรวจตลาดหม่าล่า โดย Facebook และ X เป็นแพลตฟอร์มที่ถูกพูดถึงมากที่สุด กลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุดคือ การทำ Content Marketing ในการสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ และ Influencer Marketing ในการรีวิวคุณภาพ ราคา และความอร่อยอย่างน่าเชื่อถือ ส่งผลให้เกิดการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง หากทางร้านสามารถรักษาคุณภาพอาหารและบริการได้เป็นอย่างดี ลูกค้าจะบอกต่อผ่านโซเชียลมีเดียและแฮชแท็กต่างๆ ส่งผลให้ฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
เมื่ออ่าน Data Research Insigh จบแล้ว นักการตลาด เจ้าของธุรกิจ และบุคคลทั่วไปสามารถ Download E-Book ได้ที่ด้านล่างนี้เลย สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
หากเจ้าของธุรกิจต้องการผู้ช่วยในการทำธุรกิจออนไลน์ Sellsuki พร้อมให้ความช่วยเหลือ เพราะเราคือคู่หูเพื่อนคู่คิด ที่ให้บริการการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน ไปจนการวิเคราะห์ผลลัพท์ เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด พร้อมช่วยหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และรักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่กับแบรนด์ตลอดไป
อย่าลืมกดติดตามเราบนช่องทาง Facebook, Youtube และ TikTok เพื่อไม่ให้พลาดอัปเดตข้อมูลความรู้และสาระสำคัญแบบนี้ เพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ตลาด และความต้องของกลุ่มเป้าหมายกันด้วยนะครับ