การจัดการและหยิบสินค้าในคลังสินค้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ Fulfillment ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการลดต้นทุน และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า วิธีการหยิบสินค้าที่ได้รับความนิยมมีดังนี้ FIFO (First In, First Out), FEFO (First Expired date, First Out) และ LIFO (Last In, First Out) ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเด่นและเหมาะสมกับลักษณะสินค้าแตกต่างกัน เราไปดูกันว่าการหยิบสินค้าแบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ
FIFO (First In First Out) คือ การหยิบสินค้าแบบ “สินค้าชิ้นไหนเข้าก่อน สินค้าชิ้นนั้นออกก่อน” ทำให้สินค้าที่อยู่ในคลังหรือสต๊อกสินค้าจะเป็นสินค้าที่จัดซื้อมาล่าสุดเสมอ ซึ่งระบบ FIFO เป็นการจัดการสินค้าที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยประเภทสินค้าเหมาะกับระบบ FIFO คือประเภทสินค้าที่ไม่ระบุวันหมดอายุแต่สามารถเสื่อมสภาพหรือเสียหายได้เมื่อผ่านไปตามกาลเวลาเช่น เสื้อผ้า, หนังสือ, อุปกรณ์ไอที เป็นต้น
เนื่องจากเทรนด์การแต่งกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละฤดูกาลหรือช่วงเวลา หากสินค้าค้างสต็อกนานเกินไป อาจตกเทรนด์ ทำให้สินค้าไม่ความนิยมและขายไม่ออกได้ ซึ่งการใช้ระบบ FIFO จะช่วยให้สินค้าที่เก่ากว่าถูกจำหน่ายออกไปก่อน ลดโอกาสที่สินค้าจะตกค้างในสต็อกจนหมดความนิยม และช่วยให้ธุรกิจสามารถหมุนเวียนสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะบางสินค้าอาจมีแบตเตอรี่ทำให้สามารถเสื่อมสภาพได้เมื่อเก็บไว้นานเกินไป อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการแข่งขันจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้สินค้าที่ล้าหลังถูกลดความน่าสนใจในตลาดอาจทำให้ขายสินค้าออกได้ยาก ซึ่งการใช้ระบบ FIFO จะช่วยให้สินค้าที่เข้ามาก่อนถูกขายออกไปก่อน ลดความเสี่ยงในการเสื่อมสภาพและช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
FEFO (First Expire date First Out) คือการหยิบสินค้าแบบ “สินค้าชิ้นไหนหมดอายุก่อน สินค้าชิ้นนั้นออกก่อน” ทำให้สินค้าที่อยู่ในคลังไม่หมดอายุก่อน ซึ่งเหมาะกับสินค้าที่มีระบุวันหมดอายุ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม, ยาและเวชภัณฑ์, เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เป็นต้น
LIFO (Last In First Out) คือการหยิบสินค้าแบบ “สินค้าชิ้นไหนเข้าสุดท้าย สินค้าชิ้นนั้นออกก่อน” ซึ่งอาจดูซับซ้อนกว่าวิธีอื่น เนื่องจากต้องมีการบันทึกข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดและแม่นยำ แต่ยังคงได้รับความนิยมในบางธุรกิจ เพราะช่วยให้การจัดการต้นทุนมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะในด้านการคำนวณกำไรและภาษี ซึ่งเหมาะกับธุรกิจค้าปลีกสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และธุรกิจการผลิตที่ใช้สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาผันผวนเช่น ธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจที่ใช้โลหะต่าง ๆ, ธุรกิจที่เคมีภัณฑ์, ธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี เป็นต้น
Akita Fulfillment ได้ขยายธุรกิจใหม่เป็นธุรกิจหนังสือ โดยมีการจัดซื้อหนังสือในระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ดังตารางด้านล่าง
วันที่ซื้อสินค้า | จำนวนสินค้า | ราคาสินค้า |
10/1/2024 | 100 หน่วย | 15 บาท/หน่วย |
25/1/2024 | 100 หน่วย | 16 บาท/หน่วย |
7/2/2024 | 150 หน่วย | 18 บาท/หน่วย |
18/2/2024 | 100 หน่วย | 20 บาท/หน่วย |
กรณีใช้การหยิบแบบ FIFO จะสามารถคิดต้นทุนการขายสินค้า (Cost of goods sold, COGS) ได้ดังนี้ สมมติว่าเกิดการขายสินค้าได้ 200 หน่วย จะเกิดการหยิบสินค้าแบบ FIFO คือ “สินค้าชิ้นไหนเข้าก่อน สินค้าชิ้นนั้นออกก่อน” ซึ่งสามารถคิดต้นทุนการขายสินค้าได้เท่ากับ (100 x 15) + (100 x 16) = 3,100 บาท
กรณีใช้การหยิบแบบ LIFO จะสามารถคิดต้นทุนการขายสินค้า ได้ดังนี้ สมมติว่าเกิดการขายสินค้าได้ 200 หน่วย จะเกิดการหยิบสินค้าแบบ LIFO คือ “สินค้าชิ้นไหนเข้าสุดท้าย สินค้าชิ้นนั้นออกก่อน” ซึ่งสามารถคิดต้นทุนการขายสินค้าได้เท่ากับ (100 x 20) + (100 x 18) = 3,800 บาท
จากทั้งสองกรณีจะเห็นได้ว่าการหยิบแบบ LIFO จะสามารถเพิ่มต้นทุนการขายสินค้าได้มากกว่าการหยิบแบบ FIFO กว่า 700 บาท ซึ่งส่งผลให้กำไรทางบัญชีลดลงและภาษีที่ต้องจ่ายลดลง
เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวนั้นมีสินค้าที่ราคาเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าสินค้าทั่วไปทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการหยิบแบบ LIFO ที่ช่วยให้ภาษีลดลงได้
เพียงเปลี่ยนการเลือกใช้ประเภทของการหยิบสินค้าให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าก็สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคลังสินค้าได้ โดยทาง Akita Fulfillment ได้มีการใช้การหยิบสินค้าที่ยืดหยุ่นไม่ว่าจะเป็น FIFO, FEFO, LIFO เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทสินค้าของลูกค้าได้ทุกประเภท อีกทั้งยังมีระบบบริหารจัดการคลังสินค้าและระบบอื่น ๆ แบบครบวงจรที่ช่วยให้ลูกค้าหมดห่วงเรื่องคลังสินค้าและสามารถโฟกัสกับสินค้าตัวเองได้แบบ 100% หากสนใจบริการ Fulfillment ที่มีระบบจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจรสามารถ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญของ Akita Fulfillment ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!