อย่างที่ทราบกันดีว่าอาหารเสริมนั้นเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงมากในหลายปีที่ผ่านมา แล้วมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2025 อีกด้วย วันนี้ทาง WizeMoves Consult เลยอยากมาสรุปภาพรวมทั้งตลาดปัจจุบัน เทรนด์และโอกาส ความท้าทาย และกลยุทธ์สร้างแบรนด์ให้เติบโตให้ทุกคนได้ดูกัน
อย่างที่ได้เกริ่นไปว่าอุตสาหกรรมอาหารเสริมและวิตามินนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในปีนี้ โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่ากว่า 75,000 ล้านบาท หากเป็นจริง จะทำให้โตขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 7% เลยทีเดียว โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตนี้ เราเลยสรุปเทรนด์ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
ผู้บริโภคส่วนมากในช่วงปีหลังๆมานี้ให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเชิงสุขภาพหรือความงามนั้น ไม่แพ้เรื่องอื่นๆ เลยทำให้อาหารเสริมนั้นได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ไปเต็มๆ ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้นแต่รวมทั้งกลุ่มคนวัยทำงานและวัยรุ่นที่สนใจเรื่องนี้มากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์ม e-Commerce และ Social Media นั้นเข้ามามีบทบาทการตัดสินใจกับผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม โดยเราอาจจะสังเกตว่าแพลตฟอร์ม Social Media หลายๆเจ้านั้น ทำตัวเองให้เป็น Social Commerce (ใช้ช่องทาง Social Media เข้ามาขายสินค้า) มากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ TikTok ที่เป็น Trend-setter ไม่ว่าจะเป็น Affiliate Marketing หรือ Short Video ก็ตามแต่
ผู้บริโภคในแวดวงอาหารเสริมนั้น มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเปลี่ยนเร็วขึ้นหรือการตัดสินใจซื้อมีกลไกที่ซับซ้อนกว่าเดิม เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ข้อได้แก่ เทคโนโลยี ไลฟ์สไตล์ และข้อมูลตามที่ได้มีเกริ่นไปบ้างแล้วข้างต้น เรามาเจาะลึก 3 ปัจจัยนี้กันหน่อยดีกว่า
ในยุคที่ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไปหรือแม้กระทั่งข้อมูลเชิงลึกสามารถหาง่ายได้เพียงแค่ปลายนิ้ว มันทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลมากจนทำให้ตัดสินใจยากหรือเราเรียกสิ่งนี้ว่า “Data Overload” สิ่งนี้ทำให้ลูกค้านั้นเลือกมากขึ้นว่าเขาจะเสพข้อมูลแบบไหน แบรนด์อาหารเสริมต่างๆเน้นไปที่การให้ข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุดพร้อมทั้งลูกค้าต้องใช้ความพยายามน้อยที่สุดโดยที่พวกเขาไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการใส่การรับรองจากสถาบันหรือแลป (Certification) การใช้ผู้เชี่ยวชาญออกมาแนะนำ หรือการรีวิวจากผู้ใช้จริง เพราะฉะนั้น การให้ข้อมูลที่ครบถ้วน โปร่งใส และตอบคำถามที่เข้ามาได้เร็วจึงเป็นสิ่งที่แบรนด์อาหารเสริมควรมี
การเติบโตของ Shopee Live และ TikTok Shop นั้นมีเพิ่มขึ้นอย่างจนแแทบเรียกได้ว่าเป็นช่องทางหลักที่ผู้บริโภคจะซื้ออาหารเสริมไปแล้ว เพราะผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อได้ทันทีถ้าเขาเห็นโปรโมชันที่รู้สึกว่าดีที่สุด โดยมันทำงานกับสิ่งที่เรียกว่า Influencer หรือ KOL ผ่าน Short Video มันคือการที่ Influencer หรือ KOL ถูกจ้างมาจากแบรนด์ให้ผู้สรรพคุณหรือรีวิวสินค้าของพวกเขา ไม่ว่าจะไปในสไตล์ของ Influencer / KOL เหล่านั้นเองหรือคำพูดที่แบรนด์บรีฟไป แต่สำหรับบางรายที่แบรนด์ไม่ได้จ้างโดยตรง เรามีสิ่งที่เรียกว่า Affiliate Marketing เป็นการที่แบรนด์ให้ส่วนแบ่งการขายกับ Influencer KOL หรือผู้ใช้ทั่วไป หากมีคนซื้ออาหารเสริมผ่านลิงก์หรือที่นิยมในแพลตฟอร์ม TikTok คือตะกร้า การเข้ามาของ Social Commerce นั้นทำให้ “ความจงรักภักดีต่อแบรนด์” หรือ “Brand Loyalty” ในแวดวงอาหารเสริมนั้นลดลงอย่างมากจากการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้น เพราะถ้ามีแบรนด์ใหม่ที่น่าสนใจ มีกลยุทธ์ด้านการตลาดและราคา หรือรีวิวจากผู้ใช้ที่ดีกว่า ผู้บริโภคก็พร้อมไปลองแบรนด์อาหารเสริมเหล่านั้น
เราพูดถึงภาพใหญ่กันไปพอสมควรแล้ว เรามาเจาะลึกลงมาอีกนิดดีกว่า ซึ่งนั่นก็คือ “เทรนด์อาหารเสริม” โดยเทรนด์ในแต่ละช่วงจะมาจากความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ดังนั้นการที่แบรนด์อาหารเสริมสามารถรู้ Insight ของลูกค้าและนำมาพัฒนากลยุทธ์ก็ถือว่าได้เปรียบเป็นอย่างมาก เพราะแบรนด์เหล่านั้นจะพัฒนาอาหารเสริมที่ตรงใจของลูกค้าได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมที่มีอยู่แล้วหรืออาหารเสริมรูปแบบใหม่ๆ ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพคงเป็น “เวย์โปรตีน” ที่ช่วงแรกๆผู้บริโภคเน้นไปที่การดื่มมันเพราะรู้ว่ามันมีโปรตีน แต่เวลาผ่านไป ผู้บริโภคมีควาามต้องการที่เฉพาะมากขึ้นจึงทำให้แบรนด์ผลักดันเวย์โปรตีนรูปแบบใหม่ๆออกมา เช่น แบบ Isolate ที่ไม่มีน้ำตาลหรือไขมัน แบบ Plant-based สำหรับผู้ที่แพ้แลคโตส หรือจะเป็นรสต้มยำที่นำไปใส่ในอาหารไม่ได้จบที่ชงดื่ม
หลังจากที่ดูภาพรวมของตลาดอาหารเสริมและพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ไปแล้ว เรามาลงลึกกันอีกสักหน่อยดีกว่าว่าแบรนด์อาหารเสริมในปี 2025 นั้น จะต้องเจอกับความท้ายทายอะไรบ้าง อาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะรู้อยู่แล้วหรือาจจะเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้ต้องกลับไปคิดวางแผนกันใหม่ โดยเราสรุปมาได้ดังนี้
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น การที่ผู้บริโภคมีความคิดต่ออาหารที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนั้น เป็นความท้าทายที่ธุรกิจอาหารเสริมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นธุรกิจควรมีกลยุทธ์ที่สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแบบนี้
เมื่อการทำการตลาดผ่าน Influencer / KOL และ Affiliate Marketing กลายมาเป็นช่องทางหลักที่แบรนด์อาหารเสริมจะขายหรือเข้าใกล้ลูกค้าได้ มันทำให้ต้นทุนหรือส่วนแบ่งการขาย (Margin) ที่แบรนด์ต้องเสียไปนั้นมากขึ้นพอสมควร เรายังไม่รวมถึงแพลตฟอร์ม e-Commerce ต่างๆที่มีแนวโน้มจะเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วยเช่นกัน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการใช้แนวคิด Hold Test Release ตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าก่อนวางจำหน่าย หากไม่ผ่านมาตรฐานอาจถูกปฏิเสธการนำเข้าและดำเนินคดีทางกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีการใช้ FDA Importer e-Service ทำให้กระบวนการนำเข้าโปร่งใสขึ้น แต่เพิ่มต้นทุนและเวลาสำหรับแบรนด์อาหารเสริม ธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ เพื่อให้สินค้าได้มาตรฐานและแข่งขันได้ในตลาด
แม้จะมีโอกาสที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่อาหารเสริมนั้นก็ถือเป็น Red Ocean ที่ไม่ว่าจะแบรนด์อาหารเสริมท้องถิ่น (Local) หรือแบรนด์ระดับโลก (Global) ก็อยากจะเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้
หากอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะจับจุดได้บ้างแล้วว่า เทรนด์และโอกาส ของแบรนด์อาหารเสริมนั้นคืออะไร เทรนด์ส่วนนึงคือ Wellness Lifestyle, Social Commerce และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไว อย่างที่ได้พูดถึงไป อย่างไรก็ตามเราได้นำเทรนด์และโอกาสที่น่าสนใจมานำเสนอเพิ่มเติมได้ดังนี้
ตลาดอาหารเสริมในปี 2025 นั้น คุณภาพสินค้าอาจจะไม่ใช่ทุกสิ่งอีกต่อไป เพราะถ้าขาด การตลาด, ความน่าเชื่อถือ และการเข้าถึงลูกค้า มาทำกลยุทธ์ที่ดี ก็อาจทำให้แบรนด์หรืออาหารเสริมตัวนั้นไปไม่ถึงเป้าหมายที่คาดหวังไว้ เรามาส่อง 4 กลยุทธ์ที่ธุรกิจอาหารเสริมสามารถนำไปปรับใช้ในปีนี้ได้กันดีกว่า
อันนี้อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ใหม่เท่าไหร่นัก โดยอย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นบ้างแล้วว่าแบรนด์อาหารเสริมนั้นมีการใช้การรับรองจากสถาบันหรือแลปเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในตัวอาหารเสริม กลยุทธ์นี้มาจาก Insight ที่ว่า ลูกค้าไม่ค่อยเชื่อโฆษณาแบบเก่าแล้ว พวกเขาต้องการหลักฐานมายืนยันจริงๆ ก่อนซื้อ โดยตัวอย่างมีดังนี้
มันคือการที่แบรนด์ใช้ผลวิจัยและคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการ มาทำเป็น Key Message เพื่อสื่อสารออกไปว่าอาหารเสริมของแบรนด์นั้นมีหลักฐานจากทั้งผลวิจัยและตัวแพทย์/นักโภชนาการ
จริงอยู่ที่การรีวิวจากผู้ใช้ไม่ได้มีผลวิจัยมารองรับ แต่หากเรามีคิดดีๆ การที่เพื่อนเรามาแนะนำสินค้าหรือบริการอะไรให้ เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อเพื่อนมากกว่าตัวแบรนด์เอง แบรนด์อาหารเสริมหลายๆแบรนด์เห็นจุดนี้ เลยมีการกระตุ้นให้ผู้ใช้ออกมาสร้างคอนเทนต์หรือรีวิวเเกี่ยวกับอาหารเสริมของพวกเขา เพราะอย่าลืมว่ารีวิวจากผู้ใช้ก็ถือว่าเป็น “หลักฐาน” ให้แบรนด์ได้อย่างดี
เวลาเราฟังอะไรเราก็คงอยากฟังจากผู้เชี่ยวชาญถูกไหม? ลูกค้าแบรนด์อาหารเสริมก็เช่นกัน พวกเขาอยากฟังข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเท่าๆกับสินค้าอื่น หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ แบรนด์อาหารเสริมจึงมีการแจ้งผู้เชี่ยวชาญมาไลฟ์ให้แบรนด์ตัวเองพร้อมทั้งให้สวมเสื้อกาวเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
ด้วย Insight ที่ผู้บริโภคอยากได้สิ่งที่เหมาะกับตัวเองกว่าสินค้าที่มีทั่วไป เลยทำให้ธุรกิจต้องนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น และ AI ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจสุดๆ
แน่นอนว่า Chatbot ไม่ใช่สิ่งใหม่อะไรแต่การที่ AI มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดแบบนี้ มันทำให้ธุรกิจนำมาปรับใช้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่ผู้บริโภคต้องการคำตอบที่ค่อนข้างเฉพาะอย่างอาหารเสริม ใช้ AI Chatbot ในการถามความต้องการของลูกค้าและแนะนำอาหารเสริมที่เหมาะกับแต่ละคนออกไป
เราสามารถใช้ AI มาวิเคราะห์การซื้อของลูกค้าได้ โดยนำพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามานำเสนอราคาหรือโปรโมชันที่เหมาะกับคนๆนั้น หรือจะกระตุ้นให้เขาซื้ออาหารเสริมได้มากที่สุด
แม้ผู้บริโภคจะตัดสินใจยากขึ้นก็จริง แต่ถ้าเจอ Touch point ที่ใช่ เขาก็พร้อมจะซื้อได้อย่างรวดเร็ว และแพลตฟอร์มอย่าง Shopee Live หรือ TikTok Shop ก็ทำสิ่งนั้นได้ เรามาดูดีกว่าว่าแบรนด์อาหารเสริมทำอะไรในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้
ใน TikTok แบรนด์อาหารเสริมสามารถทำตัวเองให้เป็นที่พูดถึงหรือเป็นที่รู้จักได้ง่ายกว่าเดิม โดยตัวแบรนด์เอง Influencer KOL หรือผู้ใช้เองก็สามารถทำสิ่งนี้ได้ โดยทุกฝ่ายจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Win-Win Situation เพราะแบรนด์เองก็ได้ขายอาหารเสริมพร้อมทั้งมีคนรู้จักมากขึ้น ในทางกลับกัน Influencer KOL และผู้ใช้ทั่วไปก็จะได้ผู้ติตามเพิ่มพร้อมทั้งผลตอบแทนที่ตกลงกับแบรนด์เช่น ค่าจ้าง หรือส่วนแบ่งการขาย
จัดไลฟ์ใน TikTok / Shopee เพื่อเสนอโปรโมชันพิเศษเฉพาะไลฟ์นั้นๆ จนทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าต้องติดตามแบรนด์นี้ทุกครั้งที่ไลฟ์สดเพื่อที่จะไม่พลาดดีลดีๆ หรือรู้สึกว่าต้องซื้ออาหารเสริมนั้นๆตอนนี้ไม่งั้นจะไม่ได้โปรโมชันนี้อีกแล้ว
การใช้ Influencer / KOL ไม่ว่าจะเป็น Marco (10,001 - 100,000 Followers) หรือ Nano (1,000 - 10,000 Followers) มาเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนั้นๆตัดสินใจซื้อ เพราะต้องอย่าลืมว่า Influencer / KOL ของกลุ่มเฉพาะ หรือ Niche นั้นมีความเชี่ยวชาญทำให้มีอิทธิพลต่อผู้ติดตามอย่างมาก ยิ่งถ้าเราเลือกคนที่เหมาะกับอาหารเสริมของเราแล้วนั้น จะยิ่งทำให้แบรนด์น่าเชื่อถือกว่าเดิม
อย่างที่ได้พูดถึงไปหลายรอบในบทความนี้ว่าตลาดอาหารเสริมนั้นมีการแข่งขันที่สูงและดุเดือด จึงทำให้ถูกเรียกว่า Red Ocean แต่เราก็สามารถสร้าง Blue Ocean ขึ้นมาได้เช่นกัน โดยจะเน้นไปที่กลุ่ม Micro-Niche เพราะสามารถบดการแข่งขันโดยตรงจากเจ้าตลาด เช่น อาหารเสริมสำหรับผู้ที่แพ้อาหารทะเล อาหารเสริมสำหรับนักเดินทางแก้อาการ Jet Lag หรืออาหารเสริมสำหรับคนทำงานในเมืองที่ต้องเจอมลภาวะทุกวัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเราต้องมี Insight ที่ทำให้แน่ใจว่าอาหารเสริมนั้นมีความต้องการในตลาดอยู่จริง
หลายคนอาจมีคำถามว่าทำไมกลยุทธ์ถึงสำคัญกับธุรกิจอาหารเสริม ต้องขอตอบว่า ในตลาด อาหารเสริม ที่มีการแข่งขันสูง (Red Ocean) การมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์โดดเด่นและเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะหากขาดกลยุทธ์ แบรนด์อาจจะถูกบีบให้แข่งขันด้านราคาเพียงอย่างเดียว ซึ่งมันส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตรากำไรและยากที่จะสร้างฐานลูกค้าหากเราไม่ลดราคาแล้ว การมีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยให้แบรนด์อยู่รอดได้ในสถานการณ์ตลาดแบบนี้ แต่ยังทำให้แบรนด์เติบโตได้อีกด้วย
ท้ายที่สุดนี้ เราอยากบอกว่ากลยุทธ์เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จของแบรนด์อาหารเสริมในปี 2025 แต่การนำไปปรับใช้ให้ได้ผลจริง ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก สินค้าหรือบริการของแบรนด์ หรือการปรับแต่งให้เข้ากับธุรกิจของคุณ WizeMoves Consult พร้อมช่วยให้คุณเห็นภาพรวมตลาด ค้นหาโอกาส และออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณอย่างแท้จริง