อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน วิตามิน กลูต้า ไฟเบอร์ และอื่นๆ นั้น เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่าน โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด อาหารเสริม ของประเทศไทยในปี 2567 นั้น อยู่ที่ 85,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดๆ ไป ซึ่งสาเหตุหลักก็อาจจะเป็นเพราะ เทรนด์ในการดูแลสุขภาพ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม เหล่านี้ มาตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในหลายๆ ส่วน เช่น การดื่มโปรตีน เพื่อให้ร่างกายมีปริมาณโปรตีนต่อวันที่เพียงพอในการสร้างหรือคงไว้ของกล้ามเนื้อ หรือจะเป็น การทานวิตามิน ซี เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้น จึงทำให้มีผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตาม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของธรรมชาติ จำพวก สารสกัดจากพืช สมุนไพร ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ และเพราะการแข่งขันที่เข้มข้นนี้เอง จึงทำให้มีการผลักดันและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่าง แบรนด์อาหารเสริม อยู่ตลอดเวลา ท้ายที่สุดแล้ว คำว่า "อาหารเสริม" เป็นเพียงสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มเติมจาก "อาหารหลัก" หรือ "อาหารมื้อปกติ" เท่านั้น
ทั้งนี้ การเลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมู่ ร่วมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพอย่างที่ทราบกัน เพียงแต่ อาหารเสริม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายสุขภาพได้เช่นกัน แต่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าร่างกายของเราได้รับประโยชน์สูงสุดและไม่มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ควรมีการศึกษาและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนว่า อาหารเสริม ประเภทหรือชนิดไหนเหมาะกับร่างกายของเราที่สุด
ในบทความ Data Research Insight ประจำเดือนพฤศจิกายนนี้ Sellsuki จะพาทุกคนมาสำรวจ ภาพรวมธุรกิจ และตลาดของ "อาหารเสริม" กัน ว่าทำ การตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทางหรือแพลตฟอร์มไหนที่จะเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด
โดยนอกจาก การตลาดออนไลน์ แล้ว ทางเราจะเป็นการพามาส่อง Insight และสถิติที่น่าสนใจต่างๆ ในช่วง 3 เดือน (สิงหาคม - พฤศจิกายน) ที่ผ่านมาในแวดวง อาหารเสริม ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Social Listening เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่กำลังทำ แบรนด์อาหารเสริม หรือผู้ที่สนใจจะเริ่มทำ แบรนด์อาหารเสริม
สำหรับขั้นตอนแรกสุดนั้น เราต้องตีโจทย์ให้แตกก่อนว่าเราอยากรู้หรือศึกษาอะไรที่คนพูดถึงใน โซเชียลมีเดีย ซึ่งในบทความนี้ Sellsuki จะเปรียบตัวเองเหมือนเป็น “ที่ปรึกษาธุรกิจ” ของผู้ที่ทำ แบรนด์อาหารเสริม หรือผู้ที่สนใจจะเริ่ม แบรนด์อาหารเสริม เราจึงนำคำว่า “อาหารเสริม” มาค้นหา เพื่อวิเคราะห์เทรนด์การตลาด อาหารเสริม ปัจจุบันเป็นเช่นไร และเราสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงหรือพัฒนา แบรนด์อาหารเสริม ของเราได้อย่างไรบ้าง
ขั้นตอนต่อมาคือ กำหนด Keyword ให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เราต้องการศึกษา เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Gathering) ซึ่งสำหรับ แบรนด์อาหารเสริม เรามองว่า คำว่า “อาหารเสริม” นั้น เหมาะสมที่สุดในการดูภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้
จากการใช้เครื่องมือ Social Listening (Social Listening Tool) ในช่วง 13 สิงหาคม 2024 ถึง 13 พฤศจิกายน 2024 หรือเป็นระยะเวลา 3 เดือน รวบรวมข้อมูลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, X (Twitter), Instagram และ YouTube เป็นต้น พบว่า คำว่า "อาหารเสริม" มีการกล่าวถึงกว่า 26,000 ครั้ง โดยข้อมูลที่ Sellsuki รวบรวมได้นั้น เป็นข้อมูลจากโพสต์สาธารณะ ภายใต้นโยบาย Policy ของแพลตฟอร์ม
ในชั้นตอนที่สาม เราจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากแพลตฟอร์มต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ (Data Analysis) แต่อย่าลืมตรวจสอบ และคัดกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Keyword ออกก่อน เพื่อให้การวิเคราะห์ของเรานั้นมีความแม่นยำและชัดเจนมากที่สุด
โดยหากเรามองจากกราฟ จะเห็นได้ว่าตัว Facebook มีการกล่าวถึงเป็นอันดับหนึ่งที่ราวๆ 60% หรือ 15,515 ครั้ง ทิ้งห่างอันดับสองอย่าง YouTube ที่มีการกล่าวถึง 3,109 ครั้ง หรือประมาณ 12% ทางด้าน Instagram มีการกล่าวถึงอยู่ที่อันดับสาม ที่ประมาณ 9% หรือ 2,306 ครั้ง นอกจากนี้ยังมี TikTok ที่เป็นช่องทางที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยทาง Sellsuki วิเคราะห์เหตุผลในการเลือกใช้ช่องทางต่างๆ ของผู้บริโภค ดังนี้
Facebook ยังคงยืนหนึ่ง
YouTube ครบจบในคลิปเดียว
Instagram แหล่งรวมคนชิค
TikTok เจ้าพ่อคลิปสั้น
Forum และข่าว
ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ โซเชียลมีเดีย ช่องทางต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค ดังนั้น การทำ การตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทางเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจึงเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการทำ แบรนด์อาหารเสริม
จากข้อมูล Social Data Stat Overview พบว่า การมีส่วนร่วม (Engagement) ส่วนใหญ่นั้นมาจาก TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการทำ การตลาดออนไลน์ ที่ทำให้คอนเทนต์เป็นไวรัลได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ตามที่ได้วิเคราะห์ไว้ข้างต้น โดยวิดีโอเกี่ยวกับ อาหารเสริม ส่วนมากนั้น มาจาก Influencer สายความงาม (Beauty) ที่ทำคลิปรีวิว อาหารเสริม จากการเล่าเรื่อง (Storytelling) ของตนเอง หรือทำคลิปเตือน และชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเสริม
Sellsuki ใช้ Hashtag Cloud ฟีเจอร์ที่ช่วยค้นพบแฮชแท็กน่าสนใจ รวมไปถึงภาพรวมของข้อมูลและเทรนด์ที่สอดคล้องกับ Keyword ของเรา
จากข้อมูลที่ Hashtag Cloud พบบน โซเชียลมีเดีย จะเห็นได้ว่าเทรนด์เกี่ยวกับ อาหารเสริม ใน 5 อันดับแรกนั้นเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการเลือกใช้ อาหารเสริม ของผู้บริโภค อย่าง #วิตามิน ที่ราวๆ 11% และ #คอลลาเจน ที่ 6% หรือจะเป็นการเลือก อาหารเสริม ตามช่วงวัย เช่น #อาหารเสริมเด็ก ที่ 7.29% อย่างไรก็ตาม คำว่า “อาหารเสริม” ก็ยังถูกนำมาใช้ในอันดับที่หนึ่งกว่า 1,967 ครั้ง หรือคิดเป็น 45.68%
โดยทาง Sellsuki จะพาทุกคนมาเจาะลึกกันอีกหน่อยเกี่ยวกับ แฮชแท็ก (Hashtag) ที่น่าสนใจแต่ละตัว แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจคร่าวๆ ก่อนว่าเจ้าตัว “แฺฮชแท็ก” มันสำคัญอย่างไรกับ การตลาดออนไลน์ โดยแฮชแท็กเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มทั้ง การเข้าถึง (Reach) การรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness) การส่งเสริมแคมเปญ (Campaign Promotion) วิเคราะห์เทรนด์ (Trend Analysis) และเสริมการทำ การตลาดออนไลน์ ผ่าน SEO ต่อไปเราจะมาวิเคราะห์แต่ละแฮชแท็กที่เกี่ยวกับ แบรนด์อาหารเสริม กันเลย
อาหารเสริม
แฮชแท็กนี้เป็นคำทั่วไปที่คนใช้พูดถึงผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม และ แบรนด์อาหารเสริม โดยรวม อีกทั้งคำว่า “อาหารเสริม” เป็นคำที่ครอบคลุมทั้งการแนะนำผลิตภัณฑ์ รีวิว หรือการโปรโมตสินค้า
วิตามิน
วิตามิน เป็นคำหรือแฮชแท็กที่คนที่เริ่มอยากจะดูแลตัวเองอาจจะนึกถึงเป็นคำแรกๆ และด้วยความที่ วิตามิน นั้น มีมากมายหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี วิตามิน ซี หรือว่า วิตามิน ดี จึงไม่แปลกที่ทำให้ อาหารเสริม หมวดนี้เป็นที่นิยมเป็นต้นๆ
อาหารเสริมเด็ก
แฮชแท็กนี้แสดงถึงความสนใจในหมวดหมู่นี้โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก ถือเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีลักษณะและความต้องการเฉพาะเจาะจง เนื่องจากพ่อแม่มักมองหา อาหารเสริม ที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกัน เสริมพลังสมอง หรือปรับสมดุลทางโภชนาการ
นอกเหนือจาก Hashtag Cloud แล้ว ทาง Sellsuki ยังคงใช้เครื่องมือ Social Listening อย่าง Ubersuggest เพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Keyword อาหารเสริม ได้ โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ได้แก่
หลังจากที่เรารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราต้องทำการแยกข้อมูลเหล่านี้ออกเป็นประเภทข้อมูล (Categories) เพื่อให้เราสามารถกำหนดหัวข้อหรือประเด็นเชิงลึก (Insights) ของหัวข้อที่เราต้องการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามาดูกันว่าข้อมูล 26,134 Mentions สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง
หากเรามองจากกราฟแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคนั้น จะมีพฤติกรรมในการค้นหาหมวดหมู่จุดประสงค์ในการเลือกซื้อ อาหารเสริม ก่อน ซึ่งเป็นภาพกว้างที่ 42.2% จากนั้นถึงเป็น ประเภทอาหารเสริม โดยคิดเป็น 32.2% เช่น โปรตีน วิตามิน ซี กลูต้า เป็นต้น ตามมาด้วย รูปแบบอาหารเสริม ที่ 20.5% จากนั้นจึงเป็น แบรนด์อาหารเสริม ที่มีเพียง 5.2%
ถึงแม้การทานอาหารครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการพักผ่อนที่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง อย่างไรก็ตาม เราอาจจะต้องการสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ หรือด้านอื่นๆ ก็ตาม
โดยในรูป จะเป็นจุดประสงค์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อ อาหารเสริม หากอ้างอิงจากข้อมูลที่เราเก็บได้ มีถึง 2 ใน 3 ของผู้บริโภคที่ซื้อ อาหารเสริม เพื่อสุขภาพ เช่น บำรุงสายตา บำรุงสมอง เป็นต้น ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่น่าแปลกใจมากนักเพราะนี่คือจุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งที่ อาหารเสริม ถูกสร้างขึ้นมา ในขณะเดียวกัน ราวๆ 15% ของผู้บริโภค เลือกที่จะซื้อ อาหารเสริม เพราะช่วยในเรื่องของความสวยความงาม ไม่ว่าจะช่วยทำให้ผิวขาว ลดสิวลดฝ้า และอื่นๆ จุดประสงค์ด้านการออกกำลังกายอยู่ที่อันดับ 3 (10.3%) ด้วยเหตุผลหลักๆ อย่างการเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือการควบคุมน้ำหนัก และปิดท้ายที่อันดับสุดท้ายคือใช้ในทางการแพทย์ เช่น บำรุงระบบการทำงานของร่างกาย ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น
เรามาเจาะกราฟต่อไป ซึ่งคือประเภทอาหารเสริม จากผลสำรวจ พบว่า โปรตีนเป็นประเภทอาหารเสริมที่ผู้บริโภคนิยมซื้อเป็นอันดับแรกที่ 21% ซึ่งคาดว่ามาจากมีการสร้างการรับรู้ (Awareness) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลังเกี่ยวกับการทานโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อเหตุผลหลายๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็น การสร้างกล้ามเนื้อ หรือการรักษามวลกล้ามเนื้อ อีกทั้ง อาหารเสริม อย่างโปรตีนเองก็ยังมีตัวเลือกที่หลากหลาย เช่น โปรตีนจากพืช นมโปรตีนพร้อมดื่ม เป็นต้น โดยประเภทอาหารเสริมที่ผู้บริโภคนิยมซื้อเป็นอันดับที่สองนั้นคือ วิตามิน ซี ที่ 13.2% เหตุผลที่ วิตามิน ซี เป็นที่นิยมนั้นก็มาจากการที่ว่าร่างกายคนเรานั้น ไม่สามารถสังเคราะห์ วิตามิน ซี ขึ้นมาเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร หรือ อาหารเสริม ต่างๆ วิตามิน ซี ช่วยร่างกายเราหลายๆ อย่าง เช่น เสริมสร้างการเจริญเติบโตเนื้อเยื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยในการฟื้นฟูคอลลาเจน สร้างภูมิต้านทาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การทาน วิตามิน ซี ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายเป็นพิษได้ ซึ่ง วิตามิน ซี มีความนิยมไม่ห่างกับอันดับที่สามอย่าง กลูต้า มากนักที่ 11.7% กลูต้า หรือ กลูตาไรโอน เป็น อาหารเสริม ที่หลายคนอาจจะคิดว่าคิดว่ากลูต้านั้น ช่วยให้ผิวขาว กระจ่างใสเท่านั้น แต่กลูต้านั้น ยังช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยปกป้องเซลล์และช่วยชะลออายุของเซลล์ในร่างกายอีกด้วย
ข้ามมาทางด้านของรูปแบบอาหารเสริม ปรากฏว่าผู้บริโภคเลือกซื้อ อาหารเสริม ในรูปแบบเม็ดถึง 51.5% ในขณะเดียวกัน อาหารเสริม ในรูปแบบแคปซูล และแบบผง ได้รับความนิยมในการซื้อที่ใกล้เคียงกันที่ราวๆ 20% ตามมาด้วยแบบเจลลี่ที่ 8% และปิดท้ายด้วยแบบน้ำที่อาจจะยังไม่ได้รับความนิยมมากนักใน แบรนด์อาหารเสริม
หากอ้างอิงข้อมูลจากเครื่องมือ Social Listening จะพบได้ว่าผู้ที่กล่าวถึง อาหารเสริม บน โซเชียลมีเดีย นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่มีช่วงอายุ 25 ถึง 34 ปี ซึ่งที่กลุ่มคนที่กล่าวถึงคำว่า “อาหารเสริม” เป็นเช่นนี้ ก็อาจจะเป็นเพราะว่าผู้หญิงเป็นกลุ่มที่สนใจตัว อาหารเสริม มากกว่าผู้ชาย อีกทั้งช่วงอายุ 25 ถึง 34 ปี ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อเนื่องจากเป็นวัยทำงานตอนต้นที่อาจจะไม่ได้มีภาระค่าใช้จ่ายมากนัก หากเราต้องการทำ การตลาดออนไลน์ ในการซื้อโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถใช้ลักษณะทางประชากร (Demographic) เป็นตัวตั้งต้นในการซื้อโฆษณาได้ แต่ต้องมั่นใจว่า แบรนด์อาหารเสริม ของเราและกลุ่มลูกค้านั้นตรงกัน
ปัจจุบัน แบรนด์อาหารเสริม นั้น เติบโตและมีการพัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน ทั้งในด้านนวัตกรรมการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ แม้กระทั่งวิธีการขาย หรือวิธีการทำการตลาด ด้วยเหตุนี้ จึงผลักดันให้การแข่งขันในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคระหว่าง แบรนด์อาหารเสริม ให้สูงขึ้นตามด้วยเช่นกัน ทั้งในด้านดูแลสุขภาพ ความสวยความงาม หรือตัวช่วยในการออกกำลังกาย นอกจากการแข่งขันทางด้านราคาแล้ว ความหลากหลายก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ แบรนด์อาหารเสริม นำเสนอต่อผู้บริโภคเพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด เช่น โปรตีนที่ทำมาจากพืช เจลลี่โพรไบโอติก เป็นต้น
สำหรับคนที่ทำ แบรนด์อาหารเสริม หรือกำลังจะเริ่มทำ แบรนด์อาหารเสริม นอกจากการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น “การตลาดออฟไลน์” หรือ “การตลาดออนไลน์” แล้ว การให้ความสำคัญกับส่วนผสมก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกส่วนผสมจากธรรมชาติและปลอดสารเคมี เราอาจจะสังเกตได้บ้างจากหลายๆ แบรนด์ที่ชูจุดนี้ขึ้นมามากขึ้นเพื่อที่จะสร้างความเชื่อมัน (Trust) ให้กับลูกค้าของพวกเขา ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ทางทีมงาน Sellsuki อยากบอกทุกคนที่อยากจะเลือกซื้อเลือกหา อาหารเสริม คือ การปรึกษาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม นั้น เหมาะกับตัวเราจริง
ถึงแม้ตัวตลาดอาหารเสริมนั้นจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่จะดีกว่าไหม หากเรามีสิ่งที่ควรโฟกัสใน แบรนด์อาหารเสริม ของเราให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนเช่นเคย ทาง Sellsuki ก็ไม่พลาดที่จะนำการวิเคราะห์มาฝาก โดยจะเน้นหนักไปที่ การตลาดออนไลน์ ซึ่งคือจุดประสงค์ของบทความนี้ จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!
วางตำแหน่งของแบรนด์ให้มั่น
เราต้องมาดูก่อนว่าเราวางตำแหน่งของแบรนด์ไว้ที่ตรงไหน เช่น ราคาถูกเข้าถึงง่าย พรีเมียมคุณภาพสูง ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อเน้นย้ำจุดขาย และสื่อสารสู่ลูกค้าของเรา
การเล่าเรื่องคือหัวใจ (Storytelling is key)
การที่จะทำให้ลูกค้าอินกับ แบรนด์อาหารเสริม ของเรานั้น เราต้องทำการเล่าเรื่องของแบรนด์ด้วยการบอกว่า
ทั้งนี้ เราต้องทำการออกแบบการเล่าเรื่องให้ออกมาเป็นสไตล์ หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)
สร้างช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย
ปัจจุบัน การทำ การตลาดออนไลน์ แค่ช่องทางหรือแพลตฟอร์มเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป เพราะนอกจากจะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักน้อยแล้ว เรายังเสียโอกาสในการหาลูกค้าใหม่อีกด้วย โดยด้านล่างจะเป็นกลุยุทธ์คร่าวๆ ของแพลตฟอร์มต่างๆ จากทาง Sellsuki
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะรู้สึกยังไม่พร้อม ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรืออาจจะยังไม่ชำนาญในบางแพลตฟอร์ม แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ Sellsuki อยากพาธุรกิจของคุณโตไปกับเรานะ เรามีบริการครบวงจรบนโลกธุรกิจออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น บริการที่ปรึกษาธุรกิจการตลาดแบบครบวงจร (WizeMoves Consult) ผู้ช่วยจัดจำหน่ายออนไลน์ครบวงจร ดูแลครอบคลุมทุกขั้นตอนการขาย (WizeMoves e-Dis) บริการโฆษณาออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม (WizeMoves Ads) บริการดูแล LINE Official Account ครบวงจร (LINE Agency) และอื่นๆ อีกมากมายที่ Sellsuki มีพร้อมให้คุณ
สำหรับคนที่อยากได้ Data Research Insight เวอร์ชันเต็มของเดือนพฤศจิกายน สามารถดาวน์โหลดฟรี เพียงลงทะเบียนด้านล่างได้เลย!
และเพื่อไม่ให้พลาดความรู้และสาระสำคัญแบบนี้ก่อนใคร อย่าลืมกดติดตามน้องสุกิบนช่องทาง Facebook, Youtube, Instagram และ TikTok
สำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการผู้ช่วยธุรกิจออนไลน์ และที่ปรึกษาธุรกิจมืออาชีพ ที่พร้อมพาธุรกิจของคุณเติบโตไปอีกขั้น Sellsuki เป็นมากกว่าเพื่อนคู่คิดที่คุณกำลังมองหา
เพราะเรามีบริการครบวงจรบนโลกธุรกิจออนไลน์ โดยสามารถตอบโจทย์ตรงจุดทุกความต้องการ เราพร้อมแล้วที่จะพาธุรกิจของคุณเติบโตไปกับเรานะ